ประวัติผู้ว่าฯกทม. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีต-ปัจจุบัน

 

 

 

 

ประวัติผู้ว่าฯกทม. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีต-ปัจจุบัน

 

ตอนนี้เข้าสู้ช่วง เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. พรรคการเมือง และนักการเมืองอิสระ นั้นต่างก็ลงหาเสียงกันมากมาย แต่ละคนก็มีกลยุทธและนโยบายหาเสียงที่แตกต่างกันไป ..
หนุ่มสาว วัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครนั้นก็อย่าลืมไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 16กันนะคะ ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม 2556 นี้  teen.mthai จึงนำ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาให้เพื่อนๆได้อ่าน เป็น เกร็ดความรู้ เล็กๆน้อยๆกันคะ ^^
เขียนและเรียบเรียง teen.mthai
อ้างอิง wikipedia

ประวัติผู้ว่าฯกทม. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีต-ปัจจุบัน

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในสมัยก่อนๆ เป็นข้าราชการการเมืองที่มาจากแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา โดย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก นั้นคือ  นายชำนาญ ยุวบูรณ์  (เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2516 – 22 ตุลาคม 2516 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 2 คือ นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล (เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2516 – 4 มิถุนายน 2517 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 3 คือ นายศิริ สันตะบุตร (เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2517-13 มีนาคม 2518 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 4 คือ นายสาย หุตะเจริญ (เมื่อวันที่ 1 พฤษาคม 2518 – 9 สิงหาคม 2518 จากการแต่งตั้ง)

และหลังจากนั้นก็มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีขึ้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2518 สืบเนื่องจากมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2518 ซึ่งกำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งตามวาระ 4 ปี

นายธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 5

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งแรก พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ในครั้งนั้น นายธรรมนูญ เทียนเงิน จาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 5 จาก การเลือกตั้งคนแรก ในการเลือกตั้งครั้งนั้น นายธรรมนูญ ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จนครบวาระ 4 ปี เนื่องจากเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทำให้ถูกปลดนายธรรมนูญออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2520 และให้กลับไปใช้รูปแบบการแต่งตั้งเช่นเดิม

นับจากเหตุการณ์ปลดนายธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ. 2520 กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการจากการแต่งตั้งอีก 4 คน ได้แก่

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 6 คือ นายชลอ ธรรมศิริ (เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2520 – 14 พฤษภาคม 2522 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 7 คือ นายเชาวน์วัศ สุดลาภา (เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2522 – 16 เมษายน 2524 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 8 คือ พลเรือเอกเทียม มกรานนท์ (เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 – 1 พฤศจิกายน 2527 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 9 คือ นายอาษา เมฆสวรรค์ (เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2527 – 13 พฤศจิกายน 2528 จากการแต่งตั้ง)

 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 10

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ความเห็นชอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เกิดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 ขึ้นในปี พ.ศ. 2528 นี้เอง และในครั้งนั้นทำให้  พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นามพรรค “กลุ่มรวมพลัง” ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 10 นั้่นเอง (เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 – 14 พฤศจิกายน 2532 จากการเลือกตั้ง  ) และถัดมาอีก 4 ปี มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกครั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นามพรรค “กลุ่มรวมพลัง” ก็ยังคงได้รับความนิยม และยอมรับให้เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 ต่อไป (7 มกราคม 2533 – 22 มกราคม 2535 จากการเลือกตั้ง)

ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 11  

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2535 การเลือกตั้งครั้งต่อมามีขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2535 เนื่องจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ขึ้นเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 11 (ลงสมัคร โดยไม่สังกัดกลุ่มใด แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุน ของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง) (เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2535 – 18 เมษายน 2539 จากการเลือกตั้ง)

ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 12

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2539 มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้สมัครในนาม กลุ่มมดงาน ได้รับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 12 (เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2539 – 1 มิถุนายน 2543 จากการเลือกตั้ง) ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 29 คน โดยมีอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 คน ลงสมัครด้วยคือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และ ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ

นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 13

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2543 เมื่อ ด.ร.พิจิตต รัตตกุล ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนใหม่ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 นายสมัคร สุนทรเวช อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 13 (เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2543 – 22 กรกฎาคม 2547 จากการเลือกตั้ง)

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 14

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2547
เมื่อ นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนใหม่ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 14 (เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2547 – 28 สิงหาคม 2551 จากการเลือกตั้ง) ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนก่อนไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อดำรงตำแหน่งต่อ โดยเบนเข็มไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. กรุงเทพมหานคร และให้การสนับสนุน ดร.กอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศและข้าราชการประจำกระทรวงการต่าง ประเทศ และมี ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 ลงสมัครแข่งขันแต่ได้คะแนนเสียงเพียงประมาณ 1 แสนคะแนนจากที่เคยได้สูงถึงกว่า 7 แสนคะแนน การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2551 เมื่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ ยังคงได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นสมัยที่ 2 (9 ตุลาคม 2551 – 19 พฤศจิกายน 2551 จากการเลือกตั้ง) แต่เนื่องจากอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนเดิม นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงต้องทำการเลือกตั้งผู้ว่าคนใหม่
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15
การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2552 ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนใหม่  ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15 คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ มีวาระการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 จากการเลือกตั้งที่ผ่านมา การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556?? ได้มีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้น ซึ่งวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นวันแรกของการลงชื่อผู้เข้าสมัคร ใครจะเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 16 ต่อไปนั้น ต้องรอติดตามนะคะ ^^  
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...