อ.ศศิน ออกโรงวิเคราะห์ น้ำฝนน่ากลัวกว่าน้ำเหนือ

 อ.ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร โพสต์เฟซบุ๊กวิเคราะห์

 

สถานการณ์น้ำ เผยน้ำฝนน่าเป็นห่วงกว่าน้ำเหนือ



          หลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำเหนือทะลักเข้าท่วมหลายจังหวัดในประเทศไทย

 

จนเป็นที่กังวลว่าอาจเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2555 ขึ้นในพื้นที่ทางน้ำผ่านอีกนั้น

 

อ.ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ผู้มีบทบาทในการวิเคราะห์และหา

 

ทางรับมือภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ได้ออกโรงโพสต์เฟซบุ๊กถึง

 

ความเป็นกังวลในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งมีภาพประกอบไว้ดังนี้
 


          "รายการที่ผมออกทีวีกับ ดร.เสรี เมื่อคืนเราคุยตรงกันว่าน้ำปีนี้เป็นปีที่ไม่น่ามี

 

อะไรมาก ยกเว้นถ้าร่องฝนมันลอยอยู่เหนือกรุงเทพฯ นาน ๆ ทำให้ปริมาณฝนมันเข้า

 

สู่รูปแบบที่เคยท่วมเมื่อปี 38 หรือ ปี 26 และทำให้น้ำท่วมเมืองได้ ในหลาย ๆ กรณี

 

โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีน้ำเหนือมามาก ที่น่าสนใจคือหากดูเดือนไทย เราจะเห็นว่า

 

วันนี้เพิ่งขึ้น 6 ค่ำเดือนสิบเองครับ เดือนสิบโบราณว่าน้ำมันมา แล้วน้ำท่วมเดือนสิบ

 

เอ็ด ยาวไปถึงเดือนสิบสอง ดังนั้นฟ้าฝนมันก็พ้องกับช่วงที่ว่า คือมันอาจจะยาว ๆ ไป

 

ทั้งเดือนตุลาคม ต่อพฤศจิกายน ก็ได้ ที่ต้องระวัง โลกเรามันเปลี่ยนสภาพจากเรือน

 

กระจก ไปมาก อะไร ๆ ก็เผื่อไว้ครับ ไม่มีใครรู้อะไรเป๊ะ ๆ กันแล้ว"
 


          "คราวนี้ลองดูเดือนไทย ๆ ต่อไปถึงลอยกระทงนะครับ ปีนี้ ลอยกระทงปลายเดือน (ปีที่แล้วต้นเดือน) ดังนั้น วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง ถึงปลายเดือนพฤศจิกายนนะครับ พี่น้อง ดังนั้นปีนี้ ก็อาจจะเป็นปีที่ไม่ต้องลุ้นน้ำเหนือมาก แต่ลุ้นน้ำฝนเหนือกรุงเทพฯ นี่แหละครับ ลุ้นยาว ๆ เป็นเดือนด้วยครับ"
 


          "ขอเติมอีกรูปครับ ที่อธิบายไปว่าทางตะวันออกเสี่ยงสูงนั้นมาจากน้ำเหนือที่

 

ท่วมสุโขทัย เขาวางแผนระบายออกทางนี้เหนืออยุธยา ส่วนฝั่งตะวันตกแถบเล็กที่

 

อ้อมคลองรังสิตปทุมลงมานั่นคือกรณีเขื่อนป่าสักเต็ม ซึ่งตอนนี้เริ่มมีฝนขยับไปหาแล้ว

 

แต่เรื่องมาสรุปอยู่ที่แนวกลางที่ก่อนนี้ผมก็คิดว่าไม่มีอะไร ตอนนี้มีปัจจัยเปลี่ยนแปลง

 

ที่อาจจะมีฝนหนักตกใต้แนวผันน้ำทั้งสองแนว เติมเป็นแนวน้ำท่วมที่ไม่คาดฝันครับ

 

แต่ระดับความเสี่ยงก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง ไม่ใช่รีบตกใจ แต่เตรียมตัวไว้ครับ ไม่

 

น่าจะถึงขั้นปีที่แล้วแต่ก็พอมีเรื่องให้แก้ไขสถานการณ์กันครับ ทั้งนี้ขึ้นกับการสูบน้ำ

 

ระบายน้ำของพื้นที่ต่าง ๆ และการประสานงานการระบายน้ำลงฟลัดเวย์ คลองหก เจ็ด

 

แปด ลงคลองต่าง ๆ ในเขตคลองสามวา มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง และระบายน้ำ

 

ผ่านคลองลงสมุทรปราการครับ ถ้าประสานกันดีก็ไม่น่าจะมีอะไร แต่ถ้าเหมือนปีที่แล้วก็ยุ่ง"
 


          "ที่บอกมาคือการเฝ้าระวังนะครับ ไม่ใช่ให้ตกอกตกใจ เราระวังป้องกันไว้ก่อน

 

ก็ไม่เสียหาย หน้าฝนฝนตกก็ดีแล้วครับ แต่ต้องระวังที่คาดการณ์ในกรณีหนึ่งมันอาจ

 

จะมีปัจจัยอื่น ๆ ก็ได้ทำให้เกิดผลไปอีกแบบ ดังเช่นความเสี่ยงสูงของทางน้ำที่จะผัน

 

ไปตะวันตก (น้ำเหนือก้อนปัจจุบันที่ลงมาจากสุโขทัย) และ ตะวันออก (น้ำที่อาจจะ

 

เพิ่มจากป่าสัก ในอนาคต) ไอ้แนวตรงกลางที่ไม่คิดว่าจะไม่มีอะไร ก็อาจจะเจอโจมตี

 

จากฝนตรง ๆ แบบไม่คาดคิดแบบที่ผมว่ามาจากน้ำฝนและช่วงเวลาเดือนไทยปีนี้ที่ยัง

 

มีเวลายืดเยื้อยาวนานครับ แต่ไม่ใช่ว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่แบบปีที่แล้วขนาดนั้น แต่ก็

 

พอได้มีน้ำท่วมล่ะครับแบบท้วม ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับประสิทธิภาพการสูบน้ำ และ

 

ระบายน้ำของเทศบาลแต่ละที่แล้วล่ะครับ นอกจากนี้หากไม่ประสานกันให้ดีระหว่าง

 

พื้นที่ความขัดแย้ง ทะเลาะกันเป็นพื้นที่ ๆ ก็จะทำให้ยุ่งกันใหญ่ ผู้บริหารต้องเตรียม

 

การวางแผนส่งน้ำต่อกันให้ดี ในที่ราบภาคกลางตั้งแต่อยุธยาลงมากรุงเทพฯ ครับ

 

ฟลัดเวย์เดิม ที่คลองหก เจ็ด แปด ลงคลองสามวา ลาดกระบัง สูบออกที่

 

สมุทรปราการ คงต้องเตรียมเผื่อได้ทำงานหนักครับ ไง ๆ ก็อย่าให้ใครเขามากั้นไม่ให้

 

ลงทางหนองเสืออีกก็แล้วกัน เดี๋ยวเรื่องที่ไม่ควรร้ายแรงมาก ก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่

 

(แก้ที่ผมพิมพ์ ทิศทางผิด ขออภัยครับ)"

 

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarp

22 ก.ย. 55 เวลา 10:56 1,529
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...