'คลีโอพัตรา' ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์

 โลกรู้จักคลีโอพัตราในฐานะราชินีผู้เลอโฉมที่ใช้รูปโฉมที่มีอยู่แสวงหาอำนาจ โดยไม่สนใจว่าขวากหนามที่ขวางทางอยู่นั้นจะเป็นใคร ไม่เว้นแม้กระทั่งพี่น้องร่วมสายเลือด

ณ เมืองเอเฟซัส เมืองหลวงประจำแคว้นหนึ่งของโรม ไม่น่าเชื่อว่าอุโมงค์ฝังศพสูง 50 ฟุต กว้าง 13 ฟุต ซึ่งมีปิรามิดอยู่ด้านบนแบบเดียวกับที่มีอยู่ในอียิปต์ เมืองที่ห่างออกไปพันหกร้อยกิโลเมตรจะตั้งอยู่ในโรมได้
   
ปี ค.ศ. 1926 ภายในกำแพงเมืองโบราณ อุโมงค์ฝังศพรูปร่างประหลาดถูกค้นพบโดยคณะนักโบราณคดีชาวเยอรมัน ในที่เก็บศพซึ่งเต็มไปด้วยน้ำ พวกเขาพบซากศพมนุษย์ ทั้งที่ชาวเอเฟซัสในสมัยโรมมีธรรมเนียมฝังศพคนตายไว้นอกกำแพงเมือง มีข้อยกเว้นเพียงสี่กรณีเท่านั้นในช่วงเวลา 500 ปี และทั้งหมดเป็นผู้ชาย แต่อุโมงค์แห่งนี้มีสิ่งที่ดูเหมือนกระดูกผู้หญิง ไม่เพียงเท่านั้นมันยังตั้งอยู่บนถนนโบราณซึ่งเป็นที่รู้จักในนามถนนแห่งวีรชนด้วย
   
เป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษที่ตัวตนของผู้ที่ถูกฝังอยู่ในอุโมงค์แห่งนี้ยังคงเป็นปริศนา แต่ในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2007 ทีมงานจากสถาบันโบราณคดีออสเตรียเริ่มต้นไขปริศนานี้โดยใช้นิติ    วิทยาศาสตร์ใหม่ล่าสุด สุดท้ายพวกเขาเชื่อว่านี่คือศพของเจ้าหญิงอาร์สินีที่สี่ น้องสาวของคลีโอพัตรา นั่นเอง
   
2,000 ปีที่แล้ว ปโตเลมี ราชวงศ์ของอียิปต์แก่งแย่งกันเองเพื่อช่วงชิงบัลลังก์ ฝ่ายหนึ่งคือคลีโอพัตรา อีกฝ่าย คือน้องชายสองคนกับอาร์สินี น้องสาว สาเหตุก็คือ ท่าทีที่มีต่อ โรม มหาอำนาจใหม่ของยุคนั้น คลีโอพัตราเชื่อว่าอียิปต์จะได้รับประโยชน์มากที่สุดถ้าให้ความร่วมมือกับโรม แต่อาร์สินีและปโตเลมีที่ 13 ไม่เห็นด้วย
   
ปโตเลมีที่ 13 เป็นผู้ชายอายุมากที่สุดในราชวงศ์นั้นอายุเพียงสิบขวบ พระองค์จึงต้องครองอำนาจร่วมกับคลีโอพัตรา พี่สาววัย 18 ปีของพระองค์ ราชประเพณีกำหนดว่าทั้งสองต้องผูกพันกันด้วยการสมรสซึ่งกระทำกับคนร่วมสายเลือด เพราะความเห็นที่ไม่ตรงกันคลีโอพัตราพยายามปลดน้องชายแต่ไม่สำเร็จ ซ้ำร้ายปโตเลมียังเนรเทศเธอไปยังซีเรีย มีทางเดียวที่เธอจะกลับคืนสู่อำนาจนั่นคือกำจัดการแข่งขันเสีย
   
ในปี 48 ก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์ มายังเมืองอเล็กซาน เดรีย และพยายามทำให้คลีโอพัตราคืนดีกับปโตเลมี ระหว่างนั้นคลีโอพัตราแอบหนีกลับมาจากการถูกเนรเทศ และใช้เล่ห์เหลี่ยมอันขึ้นชื่อลือชาทำให้ซีซาร์อยู่ฝ่ายเธอก่อนที่น้องชายจะมาถึง
   
คลีโอพัตราวิงวอนซีซาร์ให้ยุติการเนรเทศเธอ และแต่งตั้งเธอกลับคืนสู่บัลลังก์ดังเดิม แล้วคืนนั้นทั้งคู่ประทับตรายืนยันความเป็นพันธมิตรบนเตียงตั้งแต่คืนแรกที่อยู่ด้วยกัน วันต่อมาเมื่อปโตเลมีกลับมาเพื่อจะคืนดี เขาก็รู้ว่าเขาสู้เล่ห์เหลี่ยมของเธอไม่ได้แล้ว ปโตเลมีเจ็บปวดที่ถูกหักหลัง และหนีจากวังไปเพื่อหาแรงสนับสนุน
   
ปี 48 ก่อนคริสตกาล การคบชู้กับซีซาร์ถูกมองว่าเป็นการ ทรยศต่ออียิปต์ มันปลุกเร้าให้คนในชาติส่งเสียงต่อต้านชาวโรม กองทหารที่ภักดีต่อปโตเลมีและอาร์สินีหยิบอาวุธและล้อมวังซึ่งซีซาร์ใช้เป็นกองบัญชาการ ซีซาร์จับทั้งอาร์สินีและปโตเลมีเป็นตัวประกัน เพื่อมิให้ทั้งคู่ปลุกปั่นให้ผู้จงรักภักดีลุกฮือ
   
ซีซาร์ซึ่งติดอยู่ในอเล็กซานเดรียยึดประภาคารฟารอส อาคารควบคุมเสบียงที่เข้าและออกจากอ่าวอเล็กซานเดรีย มันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจของราชวงศ์ปโตเลมี และฟารอสกลายเป็นห่วงโซ่สำคัญยิ่งในการสืบค้นของศตวรรษที่ 21 เพราะห้องบรรจุศพและฐานรูปแปดเหลี่ยมที่ยังไม่บุบสลายนั้น เป็นแบบจำลองของประภาคารแห่งนี้นั่นเอง
   
ซีซาร์คิดว่าควบคุมเมืองนี้ได้แล้ว แต่เจ้าหญิงอาร์สินีผู้ยังเยาว์วัยพลิกสถานการณ์ในเหตุการณ์ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในนามสงคราม อเล็กซานเดรีย เธอหนีออกจากวังและถูกพาไปสมทบกับกองกำลังชาวอียิปต์ที่ภักดีต่อเธอ บรรดาผู้สนับสนุนอาร์สินีประกาศตั้งเธอเป็นฟาโรห์
   
อาร์สินีเปิดฉากการจู่โจมอย่างห้าวหาญเพื่อยึดประภาคารฟาโรห์คืน เมื่อถูกโจมตีอย่างดุดันแบบไม่ทันตั้งตัวแนวรับของโรมก็แตก ซีซาร์ต้องถอยร่นไปอยู่ที่วังกับคลีโอพัตรา ปโตเลมีซึ่งยังเป็นตัวประกันหว่านล้อมซีซาร์ว่าเขาเจรจาหย่าศึกกับพวกกบฏได้ ซีซาร์หลงกลยอมปล่อยตัว เมื่อเป็นอิสระกษัตริย์หนุ่มก็ไปสมทบกับอาร์สินี เพื่อต่อต้านซีซาร์และคลีโอพัตราทันที

ขณะที่กำลังเสริมของโรมกำลังเดินทางมาจากซีเรีย ปโตเลมีนำกองทัพไปสกัดที่ชายแดน แต่พวกโรมจู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัว พวกเขาก็ไล่ปโตเลมีข้ามแม่น้ำไนล์ ฟาโรห์หนุ่มจมน้ำตายขณะพยายามหนี ส่วนอาร์สินีถูกจับเป็นนักโทษและถูกซีซาร์นำตัวไปยังโรมในฐานะสัญลักษณ์แห่งชัยชนะที่เขาได้รับในอียิปต์
   
ตามธรรมเนียมแล้วนักโทษคนสำคัญจะถูกรัดคอต่อหน้าฝูงชน แต่ซีซาร์กลัวว่าเขาจะสูญเสียการสนับสนุนจากฝูงชนจึงไว้ชีวิตอาร์สินี แต่ก็มีเงื่อนไขคืออาร์สินีจะถูกห้ามไม่ให้กลับไปยังอียิปต์ตลอดไป ก่อนจะถูกเนรเทศไปยังที่พักพิงสำหรับผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ร่ำรวย นั่นคือ   วิหารอาร์เทมิส
   
ซีซาร์ตั้งคลีโอพัตรากลับคืนสู่อำนาจในปี 47 ก่อนคริสตกาล และให้เธอแต่งงานกับน้องชายคนสุดท้ายที่เหลืออยู่ นั่นคือปโตเลมีที่ 14 และในปี 43 ก่อนคริสตกาล เอเฟซัสก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของมาร์ค แอนโทนี ผู้ว่าราชการคนใหม่ของโรม วิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือยและการทำศึกสงครามทำให้แคว้นนี้ล้มละลายอย่างรวดเร็ว สุดท้ายเขาก็ต้องขอความช่วยเหลือจากอียิปต์ผู้ร่ำรวย และนั่นคือจุดจบของอาร์สินี หลังคลีโอพัตรา บรรลุข้อตกลงกับมาร์ค แอนโทนี เขาให้คนลากเธอออกจากวิหารอาร์เทมิส และสังหารตามคำสั่งของคลีโอพัตรา
   
11 ปีหลังสังหารอาร์สินี เล่ห์เหลี่ยมทางการเมืองอันโหดเหี้ยมของคลีโอพัตราก็ตามมาเล่นงานเธอและมาร์ค แอนโทนี ชู้รักพ่ายแพ้ในการต่อสู้แย่งชิงอำนาจเพื่อจะยึดครองจักรวรรดิโรม เมื่อแพ้สงครามทั้งคู่ก็ฆ่าตัวตาย ราชวงศ์ปโตเลมีตายไปพร้อมกับคลีโอพัตรา และยุคของฟาโรห์ก็จบสิ้นลง
 

#คลีโอพัตรา
nickapg
นักแสดงรับเชิญ
สมาชิก VIP
15 ม.ค. 53 เวลา 02:17 9,503 6 144
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...