เอแบคโพลเผย 10 อันดับพฤติกรรมสุดยี้ น่าเอือม ของคนไทย-รัฐมนตรี-ข้าราชการ มาดูมีอะไรบ้าง

นางสาว ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นักวิจัยประจำสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง 10 อันดับพฤติกรรมยอดแย่ในที่สาธารณะของคนไทยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปล่อยปะละเลย 10 อันดับพฤติกรรมยี้ของข้าราชการที่คนไทยเอือมระอา และ 10 อันดับพฤติกรรมยี้ของรัฐมนตรีและผู้ติดตามในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,378 ตัวอย่าง โดยดำเนินการสำรวจในระหว่างวันที่ 1 - 11 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา พบว่า


พฤติกรรมยอดแย่ในที่สาธารณะของคนไทยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปล่อยปละละเลย 10 อันดับแรก พบว่า

อันดับที่ 1 หรือร้อยละ 98.9 ระบุพฤติกรรมการขับรถย้อนศร ไม่สวมหมวกกันน็อค
อันดับที่ 2 หรือร้อยละ 85.3 ระบุพฤติกรรมการขับรถเกินความเร็วที่กฎหมายกำหนด
อันดับที่ 3 หรือร้อยละ 80.7 ระบุพฤติกรรมการแล้งน้ำใจต่อเด็ก สตรี คนชรา บนถนนหรือรถประจำทาง
อันดับที่ 4 หรือร้อยละ 77.9 ระบุพฤติกรรมการพ่นสเปรย์บนกำแพง ป้ายบอกทาง
อันดับที่ 5 หรือร้อยละ 76.8 ระบุพฤติกรรมการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ
อันดับที่ 6 หรือร้อยละ 64.1 ระบุพฤติกรรมการแซงคิว
อันดับที่ 7 หรือร้อยละ 61.3 ระบุพฤติกรรมการจอดรถซ้อนคัน จอดขวางทางเข้าออก
อันดับที่ 8 หรือร้อยละ 60.9 ระบุพฤติกรรมการทิ้งขยะไม่เป็นที่ มักง่าย
อันดับที่ 9 หรือร้อยละ 58.4 ระบุพฤติกรรมขี้โกง เอารัดเอาเปรียบ เห็นแก่ตัว
และอันดับที่ 10 หรือร้อยละ 53.6 ระบุพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ


พฤติกรรมยอดแย่ของข้าราชการ 10 อันดับแรก พบว่า

 

 

อันดับที่ 1 หรือร้อยละ 84.3 ระบุพฤติกรรมรีดไถ เก็บเกี่ยวผลประโยชน์
อันดับที่ 2 หรือร้อยละ 82.4 ระบุพฤติกรรมการหาทางโกง หรือกินตามน้ำ
อันดับที่ 3 หรือร้อยละ 75.3 ระบุพฤติกรรมการใช้เส้นสาย วิ่งเต้นขอตำแหน่ง ไม่เอาความรู้ความสามารถอ้างแต่ความเหมาะสม
อันดับที่ 4 หรือร้อยละ 74.6 ระบุพฤติกรรมสร้างภาพ ไม่จริงอย่างที่โฆษณาในสื่อ
อันดับที่ 5 หรือร้อยละ 71.2 ระบุพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติ
อันดับที่ 6 หรือร้อยละ 69.2 ระบุพฤติกรรมการกลัวอิทธิพลรัฐมนตรีและผู้ติดตาม
อันดับที่ 7 หรือร้อยละ 56.1 ระบุพฤติกรรมขี้กร่าง พูดจาไม่ดี
อันดับที่ 8 หรือร้อยละ 53.9 ระบุพฤติกรรมเกียร์ว่าง ไม่ทำงาน
อันดับที่ 9 หรือร้อยละ 49.5 ระบุพฤติกรรมการใช้อภิสิทธิ์ แซงคิว
และอันดับสุดท้าย หรือร้อยละ 47.8 ระบุพฤติกรรมแล้งน้ำใจกับประชาชน

 

พฤติกรรมยอดแย่ของรัฐมนตรีหรือคณะผู้ติดตาม 10 อันดับ แรกพบว่า


อันดับที่ 1 หรือร้อยละ 92.9 ระบุเจ้ายศเจ้าอย่าง ต้องมีคนติดตามเป็นขบวน
อันดับที่ 2 หรือร้อยละ 90.1 ระบุไม่ซื่อสัตย์ คดโกง
อันดับที่ 3 หรือร้อยละ 88.7 ระบุสร้างภาพ โฆษณาชวนเชื่อ ไม่เป็นจริงอย่างที่เห็นในสื่อ
อันดับที่ 4 หรือร้อยละ 86.4 ระบุเหินห่างประชาชน เข้าถึง/เข้าพบยาก
อันดับที่ 5 หรือร้อยละ 81.5 ระบุใช้เส้น ใช้อำนาจฝากเด็ก แทรกแซงโยกย้ายข้าราชการ ไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ อ้างแต่ความเหมาะสม
อันดับที่ 6 หรือร้อยละ 74.3 ระบุบ้าอำนาจ โกรธง่าย ฉุนเฉียว
อันดับที่ 7 หรือร้อยละ 72.8 ระบุเลือกปฏิบัติ
อันดับที่ 8 หรือร้อยละ 63.5 ระบุกร่าง ข่มขู่ คุกคาม
อันดับที่ 9 หรือร้อยละ 61.9 ระบุอ้างเสียงประชาชนตัดสินใจ
และอันดับที่ 10 หรือร้อยละ 57.2 ระบุใช้ภาษารุนแรง ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีของความเป็นไทย

 

นางสาว ปุณฑรีก์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือแนวทางการแก้ปัญหาพฤติกรรมยอดแย่เหล่านี้ต้องทำให้ทุกๆ อย่างเกิดขึ้นอย่างโปร่งใส ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ เช่น การจับปรับต้องสำแดงให้สาธารณชนเห็นว่าเงินที่ได้ไปนำไปทำอะไรบ้าง เช่น มีข้อมูลระบุในใบเสร็จว่าเงินที่ถูกปรับไปนั้นส่งไปที่ 1) รัฐบาลกลางในการพัฒนาประเทศ 2) รัฐบาลท้องถิ่นที่มีผู้กระทำผิดใช้พัฒนาท้องถิ่น 3) เป็นเงินบำรุงพัฒนาห้องสมุดประชาชนและการศึกษาของเด็กและเยาวชน 4) เป็นสวัสดิการให้กับเจ้าหน้าที่รัฐผู้ทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และ 5) เป็นค่าใช้จ่ายในงานธุรการ เป็นต้น โดยผู้วิจัยเห็นว่าน่าจะเป็นทางออกลดความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชนและทำให้ลดพฤติกรรมแย่ๆ ของประชาชนบางคนลงไปได้บ้าง

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...