ฝูงวาฬปริศนา” โผล่กลางทะเลทราย

 

แคธาลีนา แพรอท (Catalina Parot) รัฐมนตรีสมบัติชาติชิลี (ผู้หญิงใช้ไม้เท้า)
 
ชมตัวอย่างฟอสซิลวาฬที่ขุดพบ (ภาพประกอบทั้งหมดจากเอพี)


       กว่า 2 ล้านปีก่อน ฝูงวาฬจำนวนมากได้มาออกันที่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทาง

อเมริกาใต้ และพบจุดจบปริศนาที่นั่น พวกมันอาจหลงทางและเกยตื้น หรือพวกมันอาจติด

อยู่ในทะเลสาบเนื่องจากดินถล่มหรือพายุ หรือพวกมันอาจตายที่นั่นมานกว่า 2-3 พันปี

หรือบางทีพวกมันอาจตายลงในที่ไม่ห่างจากตัวอื่นในฝูงเพียงไม่กี่เมตร แต่สุสานตรงพื้น

ทะเลถูกแรงยกทางธรณีวิทยาดันขึ้นมาแล้วแปรสภาพเป็นสถานที่อันแห้งแล้งที่สุดบนโลก 
       
      ซากวาฬเหล่านั้นได้โผล่ออกมาให้เห็นอีกครั้งบนยอดเนินของทะเลทรายอะทาคามา

(Atacama Desert) ซึ่งเอพีระบุว่า นักวิจัยทั้งหลายได้เริ่มต้นขุดฟอสซิลของวาฬก่อน

ประวัติศาสตร์ซึ่งถูกเก็บในสุสานเก็บรักษาซากได้อย่างดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดย

นักวิทยาศาสตร์ของชิลีได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันสมิทโซเนียน (Smithsonian

Institution) สหรัฐฯ เพื่อศึกษาว่า วาฬเหล่านี้มาอยู่ในมุมของทะเลทรายดังกล่าวได้อย่างไร 
       
       “นั่นเป็นคำถามสำคัญ” มาริโอ ซอเรซ (Mario Suarez) ผู้อำนวยการจากพิพิธภัณฑ์

บรรพชีวินวิทยา (Paleontological Museum) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวงของชิลีประมาณ

700 กิโลเมตรกล่าว
       
       ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า วาฬก่อนประวัติศาสตร์อื่นๆ ถูกพบอยู่รวมกันในเปรูและอียิปต์ แต่

ฟอสซิลของวาฬโบราณในชิลีกลับโผล่ออกมาพร้อมกับจำนวนอันน่าฉงนและกระดูกที่ถูก

เก็บรักษาไว้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ ถึงตอนนี้มีวาฬมากกว่า 75 ตัวแล้วที่ถูกขุดพบ ในจำนวนนั้น

เป็นโครงกระดูกที่สมบูรณ์มากกว่า 20 โครงกระดูก ซึ่งโครงกระดูกเหล่านี้ได้ฉายให้เห็น

ภาพชีวิตแห่งท้องทะเลในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งอาจจะรวมถึงกลุ่มครอบครัวที่มีลูกวาฬอยู่

ระหว่างวาฬเต็มวัย 2 ตัว
       
       “มันน่าจะตายพร้อมกันในจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่านี้” นิโคลัส เพียนสัน

(Nicholas Pyenson) ภัณฑารักษ์ด้านฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลุกด้วยนมทางทะเลจาก

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสมิทโซเนียน (Smithsonian's National Museum of Natural

History) ซึ่งร่วมกับซอเรซทำการวิจัยครั้งนี้กล่าว แต่เหตุใดจึงมีวาฬมาตายในที่เดียวกัน

มากขนาดนี้เพียนสันให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้หลายอย่าง ซึ่งเขาและทีมพยายาม

ตรวจสอบในข้อสันนิษฐาน
       
       ฟอสซิลเหล่านี้โผล่ขึ้นมาเมื่อเดือน มิ.ย.53 ระหว่างโครงการขยายทางหลวง ซึ่ง

โครงการนี้ยังดำเนินต่อไปอยู่ ส่วนบริเวณที่พบฟอสซิลข้างทางหลวงตอนนี้มีพื้นที่เทียบ

เท่าสนามฟุตบอล 2 สนาม หรือประมาณความยาว 240 เมตร กว้าง 20 เมตร
       
       เพียนสันกล่าวว่า ครั้งหนึ่งนั้นจุดดังกล่าวมี “สภาพแวดล้อมคล้ายทะเลสาบ” และ

วาฬเหล่านั้นอาจจะตายในช่วงเวลาระหว่าง 2-7 ล้านปีก่อน โดยฟอสซิลส่วนใหญ่เป็น

ของ “วาฬกรองกิน” (baleen whale) ซึ่งมีความยาวประมาณ 8 เมตร และทีมวิจัยยังพบ

โครงกระดูกของวาฬหัวทุย (sperm whale) และซากของโลมาที่ตอนนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว

โดยโลมาดังกล่าวมีงา 2 ข้างคล้ายสิงโตทะเล และก่อนหน้านี้เคยพบโลมาดังกล่าวในเปรูเท่านั้น
       
       “เราตื่นเต้นมากกับเรื่องนี้ มันเป็นสัตว์ที่แปลกประหลาดมาก” เพียนสันกล่าว และยัง

มีสัตว์แปลกๆ พบในทะเลทรายอะทาคามานี้อีก ซึ่งรวมถึงหมีสลอธน้ำ (aquatic sloth) ที่

สูญพันธุ์ไปแล้ว และนกทะเลที่มีปีกกว้าง 5 เมตร ซึ่งใหญ่กว่าแร้งขนาดใหญ่
       
       ทางด้าน เอริช ฟิตซ์เจรัลด์ (Erich Fitzgerald) นักบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสัน

หลังจากพิพิธภัณฑ์วิคตอเรีย (Museum Victoria) ในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ให้ความเห็น

แก่เอพีว่า การค้นพบล่าสุดนี้สำคัญอย่างยิ่ง ฟอสซิลเหล่านั้นถูกเก็บรักษาไว้อย่างยอด

เยี่ยมและค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันที่หาได้ยากในบรรพชีวินวิทยา และ

เป็นสิ่งที่จะเผยให้เห็นหลายมุมมองของนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และบอก

ด้วยว่าเป็นไปได้ที่ฟอสซิลซึ่งหลงเหลืออยู่นี้อาจจะสะสมในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกันมานาน
       
       ส่วน ฮันส์ เธวิสสัน (Hans Thewissen) ศาสตราจารย์ด้านกายวิภาคและผู้เชี่ยวชาญ

ด้านวาฬยุคดึกดำบรรพ์ จากมหาวิทยาลัยการแพทย์นอร์ธอีสต์โอไฮโอ (Northeast Ohio

Medical University) เห็นด้วยกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากออสเตรเลีย แต่เขากล่าว

ถึงอีกแนวทางที่เป็นไปได้นั่นคือวาฬอาจมารวมกันในทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วเกิดแผ่น

ดินไหวหรือพายุที่ปิดสามารถอุดทางออกของมหาสมุทรทั้งหมดได้ จากนั้นทะเลสาบก็เริ่ม

แห้งและวาฬก็ตาย เขายังพูดอีกว่าการสะสมของกระดูกที่สมบูรณ์จำนวนมากนี้เป็นสิ่งที่ไม่

พบได้บ่อยนัก
       
       “หากเหตุการณ์นี้เป็นผลจากทะเลสาบแห้งเหือดแล้ว คุณจะต้องเห็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าน้ำ

ในมหาสมุทรระเหยไป อย่างเช่นการตกผลึกของเกลือหรือยิปซัมในหิน หรืออีกแง่หนึ่งหาก

คลื่นยักษ์หรือพายุที่ซัดวาฬไปติดชายหาด ขณะเดียวกันก็ดันพื้นทะเลที่อยู่รอบๆ และคุณ

จะต้องเห็นรอบขุดบนหิน” เธวิสสันซึ่งไม่มีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้กล่าว
       
       ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการระบุอายุฟอสซิลนั้นเป็นเรื่องซับซ้อน และเป็นเรื่องยากใน

การแยกเวลาที่แน่ชัดพอที่จะประเมินวาฬทั้งหมดนั้นตายในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ทั้งนี้

ฟอสซิลส่วนมากได้ถูกขนส่งไปยังพิพิธภัณฑ์ที่ซอเรซทำงาน ซึ่งเขาบอกด้วยว่าทีมวิจัย

ของเขาทำงานอย่างเร่งรีบอยู่ในกระโจมเพื่อเก็บข้อมูลโครงกระดูกที่สมบูรณ์ และด้วยทุน

วิจัยจากสมาคมเนชันนัลจีโอกราฟิก (National Geographic Society) ทางทีมวิจัยสมิทโซ

เนียนได้ใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่ซับซ้อนและเครื่องสแกนเลเซอร์เพื่อจับภาพ 3 มิติของ

วาฬ ซึ่งสามารถนำไปสร้างแบบจำลองขนาดของวาฬขณะที่มีชีวิต
       
       ซอเรซนั้นทราบเรื่องเกี่ยวกับกระดูกวาฬโบราณทางตอนเหนือเมืองคัลเดอราของชิลี

มากนาน โดยฟอสซิลเหล่านั้นเห็นได้จากที่โผล่ออกจากสันเขาหินทรายขนาบเส้น

ทางหลวงตรงจุดที่เรียกว่า “เซอร์โรบัลเลนา” (Cerro Ballena) หรือ เนินเขาวาฬ

(Whale Hill) และเมื่อโครงการขยายถนนเริ่มต้นเมื่อปีที่ผ่านมา ทางบริษัทรับเหมาก็ขอให้

เขาไปตรวจดูการทำงานเพื่อช่วยป้องกันการทำลายฟอสซิล
       
       “ในสัปดาห์แรกนั้นกระดูกวาฬ 6-7 โครงก็ปรากฏขึ้น เราจึงตระหนักว่าบริเวณดัง

กล่าวเป็นพื้นที่พิเศษจริงๆ” ซอเรซกล่าว
       
       ทางด้านรัฐบาลชิลีเองได้ประกาศให้พื้นที่ขุดฟอสซิลดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ต้องได้รับ

การปกป้อง ซึ่งเพียนสันนักวิจัยชิลีหวังว่าจะมีการสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงโครง

กระดูกที่ไม่เสีย ณ ตำแหน่งที่ฟอสซิลนั้นอยู่ ในรูปแบบเดียวกับการจัดแสดงฟอสซิลที่

อนุสาวรีย์ไดโนเสาร์สหรัฐฯ (Dinosaur National Monument) ในยูทาห์และโคโลราโด สหรัฐฯ
       
       ซอเรซเชื่อว่าอาจยังมีฟอสซิลของวาฬอีกหลายร้อยที่รอการขุดพบ ซึ่งเป็นจำนวนที่

มากพอให้เขาทำงานที่จุดเดียวนี้ไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ และพวกด้วยว่า พวกเขาได้รับ

โอกาสพิเศษในการพัฒนาโครงการทางวิทยาศาสตร์อันยิ่งใหญ่และสร้างผลงานที่สำคัญ

ยิ่งให้แก่วงการวิทยาศาสตร์

นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยาชิลีที่ไซต์งานขุดฟอสซิล

ริมทางหลวงกลายเป็นจุดที่พบสุสานวาฬดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่

ที่มา : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000148603

30 พ.ย. 54 เวลา 15:13 9,484 12 190
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...