ตัวนี้กล้ากินกันมั้ย .... Giant Salamander นะครับ พี่จีนเขายังกินอีกเหรอ ????


ผมชื่อ ต้าหนี ชื่อเล่น วาวา อยี๋ เป็นไงฮับ
ความหล่อเหลาของผม เนื้อผมก็อร่อยนะ

วาวา อยี๋ (娃娃鱼) เป็นชื่อที่ชาวจีนเรียกกันทั่วไปว่า ปลา วาวา มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ต้าหนี (大鲵) ซึ่งแท้จริงแล้วหาใช่ปลาไม่ แต่เป็นสัตว์สะเทินบกสะเทินน้ำดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่งที่เริ่มต้นวิวัฒนาการ กลายมาเป็นสัตว์เลื้อยคลานกึ่งบกกึ่งน้ำที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Giant Salamander ชื่อทางวิชาการก็คือ Andrias davidianus แต่ชาวจีนนับเป็นปลานั้น เพราะว่ามันเป็นสายพันธุ์ที่ยังต้องอาศัยอยู่ในน้ำเกือบตลอดเวลานั่นเอง

 

 

 

 

ต้าหนี มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของมัน ขนาดใหญ่ที่เคยพบเห็นนั้นมีความยาว 1.3 เมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม ลำตัวเป็นสีดำ หรือออกแดงสีอิฐ หัวกลมแบน มีดวงตาขนาดเล็กที่ใช้งานไม่ดีหนึ่งคู่ ปากกกว้าง มีฟันบนเรียงกัน 2 แถว แต่มีฟันล่างเพียงแถวเดียว มีหางแบน มีขาที่ค่อนข้างสั้นเต่อ 4-2 คู่ ขาคู่หน้ามี 4 นิ้ว แต่ขาคู่หลังกลับมีถึง 5 นิ้ว ต้าหนีอาศัยมีชีวิตรอดอยู่ได้ในลำธารน้ำไหลเย็นภายในถ้ำที่มีความชื้นที่ไม่ ค่อยมีแสงในเวลากลางวัน อุณหภูมิ 18 – 22 องศา C มันกินอาหารน้อย วันละ 200 – 300 กรัม ต่อวันก็เพียงพอสำหรับตัวมันแล้ว มันมีการเลื่อนไหวเชื่องช้า จึงถูกกจับได้ง่าย

 

 


นี่คือรูปร่างเต็มตัวของผมครับ
ยังไม่โตเต็มที่นะครับ

 


คุณหวัง กวั๋วซิ่ง เจ้าของบริษัท จินหนี
ผู้บุกเบิกการเพาะเลี้ยง ต้าหนี เป็นการค้า

ทางการจีนขึ้นทะเบียน วาวา อยี๋ เป็นสัตว์คุ้มครองชั้น 2 ที่ยังคงมีหลงเหลืออยู่แต่ในประเทศจีนเท่านั้น มันเป็นสัตว์สมัยดึกดำบรรพ์ที่ยังคงรูปลักษณ์เหมือนเดิมเมื่อครั้ง 350 ล้านปีที่แล้วมา มันได้รับสมญานามว่าเป็น ฟอสซิลที่มีชีวิต และกำลังจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้านี้ เนื่องจากราคามันสูงลิ่วจูงใจเป็นอย่างยิ่ง ราคาอย่างต่ำไม่น้อยกว่า 5,000.00 บาท จนกระทั่งเป็น 10,000.00 บาท ต่อกิโลกรัมเลยทีเดียว จึงทำให้มีการลักลอบจับมาขายกันจนเกือบไม่เหลือหรอ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีภัทตราคารที่จำหน่ายเมนูอาหารจานปลาชนิดนี้อย่างถูกกฏหมายเสีย ด้วย เอ๊ะ คงสงสัยละซีว่า เป็นสัตว์ที่ขึ้นบัญชีคุ้มครองแล้ว ทำไมจึงอนุญาตให้ฆ่าขายเป็นอาหารได้ด้วยเล่า ? มาดูความลึกลับของมันดีกว่า

 

 


บ่อเพาะเลี้ยงภายในถ้ำ

 


ภัตตาคาร จินหนี หรูหรา สุดอลังการณ์ในป่าลึก
ที่มีแต่บรรดาผู้มีอันจะกินเท่านั้นที่เข้ามาอุดหนุน

 

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับชื่อเสียง เรียงนามของมันเสียก่อนว่า มีความเป็นมาอย่างไร แรกสุดที่ได้มีการค้นพบสัตว์ชนิดนี้นั้น ชาวบ้านที่พำนักพักอยู่ใกล้กับแหล่งที่อยู่อาศัยของมัน ซึ่งเป็นลำธารในป่าลึก มักจะได้ยินเสียงร้อง อุ๊แว้ อุแว๊ เหมือนเสียงเด็กร้องในเวลาตอนกลางคืน (หูคนจีนได้ยินเสียงเป็น วา วา และเรียกเด็กทารกหรือตุ๊กตาเด็กเล่นว่า วาวาเหมือนกัน) อันเป็นช่วงที่มันออกมาจากซอกหลืบก้อนหินเพื่อจับหาอาหารกิน ชาวบ้านจึงให้ชื่อมันว่า ปลา วาวา (ปลาทารกหรือปลาอุแว๊ก็คงได้กระมัง) และสาเหตุที่ทำให้ วาวา อยี๋ มีราคาสูงถึงปานนี้นั้น เกิดจากแรงหนุนส่งความเชื่อจากคำบรรยายสรรพคุณทางยาของมันในตำหรับยาสมุนไพรจีน “เปิ่นฉ่าวกังมู่” (本草纲目) ที่เขียนรวบรวมโดย หลี่ สือเจิน นั้น (李时珍) บรรยายสรรพคุณทางยาของ วา วา อยี๋ ไว้ว่าสามารถใช้เป็นยารักษา โรคอหิวาห์ โรคบิด โรค好科病 โรค冷血病 เป็นยาสงบอารมณ์ ทำให้นอนหลับได้ลึก เจริญอาหารบำรุงกำลัง เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย  มีไขมันแต่ไม่เลี่ยน ใช้เป็นยารักษาแผลอันเกิดจากไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้อย่างวิเศษ สารคอลลาเจนที่ขับออกมาจากผิวหนังเป็นเมือกรอบตัวมันนั้นเป็นเครื่องประทิน โฉมรักษาผิวได้วิเศษยิ่ง เนื้อของมันละเอียดนุ่ม รสชาติอร่อย อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร เป็นยาบำรุงที่ดียิ่งสำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เหงื่อแตกในยามกลางคืน เลือดลมไม่ปกติในเพศหญิง บำรุงไตและสร้างเชื้อสเปิร์มในเพศชาย ถือเป็นยาบำรุงสุขภาพที่ดีเลิศสำหรับชายหญิงทุกรุ่นทุกวัยทุกอายุเลยทีเดียว นั่นคงเป็นสาเหตุที่ทำให้มันมีราคาแพงและกล้าลักลอบจับกันโดยไม่เกรงกลัว กฏหมายแต่อย่างใด

 


ภายในห้องอาหาร – จัดเลี้ยง เมนูต้าหนี ขึ้นชื่อ ปาป่าว วาวา อยี๋

 

ในเมื่อต้าหนี (วาวา อยี๋) เป็นสัตว์ที่รัฐบาลให้การคุ้มครองแล้วทำไมจึงได้มีภัตตาคารจำหน่ายสัตว์ชนิด นี้เหมือนร้านอาหารป่าที่ผิดกฏหมายได้เล่า ? อันนี้ต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฏหมายคุ้มครองสัตว์ป่าของทางการจีนเสีย ก่อน สัตว์ป่าที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ความคุมครองแล้วนั้น ถ้าเอกชนที่มีความประสงค์ทำการเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อทำเป็นธุรกิจการค้าโดย ที่สามารถเพาะเลี้ยงได้เองแล้ว (ไม่ใช่ลักขโมยจับมาจากแหล่งธรรมชาติ) ต้องทำเรื่องยื่นขอและแสดงกรรมวิธีการเพาะเลี้ยงและผลงานการขยายพันธุ์ต่อ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้ เมื่อสามารถตรวจสอบความเป็นจริงได้แล้ว จึงออกหนังสืออนุญาตให้ทำการผู้จำหน่ายสัตว์ป่าที่ทำการเพาะเลี้ยงขยาย พันธุ์ขึ้นมาเองได้ (ซึ่งผิดกับกฏหมายไทยที่ห้ามเลี้ยงเด็ดขาด เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ก็ไม่ได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวเท่ากับเป็นการเร่งให้สัตว์ป่าสูญพันธุ์เร็วขึ้น เนื่องจากมีแต่การลักลอบจับฆ่าทำลายลดจำนวนลง ไม่มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพิ่ม เป็นการปิดกั้นหนทางสืบสายพันธุ์โดยสิ้นเชิง แต่ถ้ามีการเปิดให้ทำการเพาะเลี้ยงได้ ก็จะเป็นหนทางอนุรักษ์สืบสายพันธุ์อย่างถูกฏหมาย แต่ต้องมีการดำเนินการด้วยความเข้มงวดบริสุทธิ์ใจทั้งฝ่ายผู้ดำเนินการและ ผู้รักษากฏหมาย ไม่ใช่เป็นการสวมสิทธิ์บังหน้าลวงหลอกของผู้เพาะเลี้ยงหรือแกล้งปิดหูปิดตา ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นจากเจ้าหน้าที่)

 


ต้าหนี (วาวา อยี๋) ตัวใหญ่เท่าที่เคยพบ ลำตัวยาว 1.3 เมตร น้ำหนัก 43 กิโลกรัม

 

บุคคลคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ ต้าหนี นั้นเป็นชายชื่อว่า หวัง กวั๋วซิ่ง (王国兴) เดิมมีอาชีพขับรถส่งสินค้า หลังจากนั้นหันมาเลี้ยงตะพาบน้ำเนื่องจากราคาดี ต่อมามีผู้เลี้ยงมากขึ้นเรื่อยๆจนไม่มีกำไร จึงได้หันมาสนใจ วาวา อยี๋ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้สำเร็จ จึงพาตัวเองเข้าไปในดงป่าลึกแห่งหนึ่งในเมือง จังเจียเจี้ย (张家界) มณฑลหูหนาน (湖南) อันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดนี้ โดยหมกตัวเองกินนอนอยู่ภายในถ้ำอันเป็นที่พักอาศัยของมันเป็นเวลา 5 ปีเต็มๆโดยไม่ได้ไปไหนเลย ในช่วงเวลาห้าปีนี้ คุณหวังได้ทำการศึกษาความเป็นอยู่ของมัน เฝ้าสังเกตุการสืบพันธุ์ ตลอดจนการกินอยู่ของมันอย่างละเอียด ทำการทดลองผสมเทียมจนกระทั่งพบกับความสำเร็จ จึงได้ทุ่มทุนทั้งหมดขออนุมัติจากทางการขุดอุโมงค์เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีความยาวร่วม 600 เมตร ก่ออิฐสร้างบ่อเพาะเลี้ยงขึ้นภายในถ้ำ มีอัตราการพาะเลี้ยงรอดสูง จนสามารถจำหน่ายมีรายได้ร่ำรวยมหาศาล หลังจากนั้นจึงได้สร้างภัตตาคารหรูขึ้นจำหน่ายอาหารเมนูต้าหนีที่หน้าถ้ำ อันเป็นสถานที่ที่เพาะเลี้ยง วาวา อยี๋นั่นเอง หลังจากนั้นยังได้เปิดบริษัททำการวิจัยค้นคว้านำมาผลิตเป็นยา ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม รวมทั้งเปิดโรงเรียนอบรมการเพาะเลี้ยง วาวา อยี๋ แก่บุคคลทั่วไปอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถเปิดเข้าไปดูรายละเอียดเว็บไซท์ จินหนี (金鲵) ได้ที่  http://www.jinni.cn/


 


หนังสืออนุมัติให้ประกอบการ เพาะเลี้ยง-จำหน่าย สัตว์คุ้มครอง (ต้าหนี) จากรัฐบาล

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...