การแต่งกายของทหารทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ 1

อังกฤษและสหราชอาณาจักร (Britain & the Commonwealth) ทหารราบแห่งกรมทหารหลวงออสเตรเลีย,เกาหลี,1953

อาวุธ ปืนไรเฟิล ลีเอ็นฟิลด์ นัมเบอร์วัน มาร์คทรี ขนาด.303 ,ดาบปลายปืนรุ่น 1907

เครื่องสนาม สายเก่งและสายเข็มขัดแบบ 1937(ดัดแปลงจากของอังกฤษ),กระเป๋ากระสุน 2อัน,อุปกรณ์ขุดสนามเพลาะหรือสร้างที่มั่น ,เครื่องหลัง,กระติกน้ำ

การแต่งกาย รองเท้าหนัง,ผ้าใบหุ้มแข้ง,หมวกปีกกับแถบผ้าคาดรอบหมวก,เสื้อและกางเกงทำจากผ้าฝ้าย,เสื้อโค้ทสนาม,ถุงมือ และผ้าพันคอ

โน๊ท กองทัพออสเตรเลียได้ส่งทหารสามกองพัน ไปประจำการในเกาหลีช่วงปี1950เศษ เป็นจำนวนรวม 10,557นาย โดยสูญเสียทหารไปเป็นจำนวน 1,396นาย

ทหารแห่งกรมแขวงกอลเชสเตอร์,เกาหลี 1951

อาวุธ ปืนไรเฟิลลีเอนฟิลด์ หมายเลข4 ใช้กระสุน.303นิ้ว กับดาบปลายปืนแบบแหลม

เครื่องสนาม ใช้แบบ 1944 ทำจากผ้าใบ เข็มขัดมีกระเป๋าขนาดใหญ่สำหรับใส่แม็กกาซีนปืนกลเบาเบรน กระเป๋าผ้าใบอีกอันสำหรับใส่กระติกน้ำทำจากพลาสติก กระเป๋าหลังใส่กระสุนของอาวุธที่ใช้ ทั้งหมดนี้ห้อยอยู่กับสายเข็มขัดที่ทำจากผ้าใบ

เครื่องแต่งกาย ชุดพราง ทั้งเสื้อคลุมและกางเกงเป็นแบบสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง สวมผ้าพันคอทำจากขนสัตว์,หมวกแบบพันด้วยผ้าพันคอขนสัตว์ ถุงมือชนิดไม่มีนิ้วสอดสีขาว ใช้สำหรับอากาศหนาวเย็น โดยจะสวมทับถุงมือทำจากผ้าขนสัตว์ (อุ่นน่าดู) ,รองเท้าหนังสีน้ำตาลมีผ้าหุ้มแข้งทำจากผ้าใบ

โน๊ท กรมทหารแห่งแขวงกอลเชสเตอร์มีชื่อเสียงโด่งดังในชื่อ"กอสเตอร์" พวกเขามีตราประจำหน่วยคล้ายหมวกหมวก(^)สองอัน คือไปข้างหน้า1อัน และไปข้างหลัง1อัน เพื่อเป็นที่ระลึก แสดงให้เห็นว่าพวกเขาพร้อมจะบุกศัตรูจากด้านหลัง และไปข้างหลังแสดงให้เห็นว่าพวกเขาพร้อมจะขับไล่ศัตรู ในสงครามเกาหลีพวกเขาเป็นหน่วยที่ได้รับการยกย่องจากประธานาธิบดีสหรัฐ จากวีรกรรมต่อสู้ป้องกันเนิน235 จนคนสุดท้าย ซึ่งตรงกับวันก่อตั้งกองกำลังร่วมออสเตรเลียนิวซีแลนด์ ในปี195

พลร่มอังกฤษ,ไอร์แลนด์เหนือ,1980

อาวุธ ปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติมาตรฐานแบบ เอสแอลอาร์ ใช้กระสุนมาตรฐาน 7.62มม.นาโต้ กับดาบปลายปืน โดยจะไม่มีการใช้สายสะพายปืนในไอร์แลนด์เหนือ สาเหตุมาจากการที่พวกเขาจะต้องต่อสู้กับศัตรูที่ไม่เห็นตัว เพราะศัตรูจะมาในคราบของประชาชนผู้เกลียดชังทหารอังกฤษ ดังนั้นการลอบโจมตีจะสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากมัวแต่สะพายปืนก็จะทำให้ยิงตอบโต้ไม่ทันการณ์ การถือปืนไว้ในมือตลอดเวลาจึงทำให้สามารถใช้อาวุธตอบโต้ได้อย่างฉับไว

เครื่องสนาม วิทยุสื่อสารแบบสองทาง(ว.)ห้อยอยู่ที่เข็มขัด สายเข็มขัดแบบ 1956มีกระเป๋ากระสุนปืนเอสแอลอาร์ 2อัน ฟักดาบปลายปืน กระติกน้ำใส่ในผ้าใบ ถุงนอน ที่หลังสะพายกระเป๋าขนาดใหญ่ มีกระเป๋าเล็กๆสองอันเรียกว่า"คิสนีย์" อุปกรณ์แบงค์หุ้มปากลำกล้องปืน พลั่วสนาม ผ้าคลุมศรีษะ

การแต่งกาย สวมหมวกเบเรต์สีแดง ตราสัญลักษณ์ที่หมวกทำจากพลาสติกอ่อน กางเกงเดินป่าสีเขียวทำจากผ้าฝ้าย เสื้อลายพราง ดีพีเอ็ม สวมเสื้อแจ็กเก็ตกันกระสุนทับ

โน๊ท ในระหว่างประจำการตราบนหมวกจะเป็นแบบพลาสติกสีดำ

หน่วยเอสเอเอส,หมู่เกาะฟอล์กแลนด์,1982

อาวุธ ปืนคาร์ไบน์จู่โจม โคลท์"คอมมานโด" เอ็กซ์เอ็ม177 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นตัดสั้นของปืนไรเฟิลจู่โจม โคลท์ เออาร์15 หรือที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า เอ็ม16 โน็ต:สังเกตที่แม็กกาซีนบรรจุ 20นัดจะมีสองอัน ทำการพันเทปกาวไว้ ทำให้การเปลี่ยนแม็กกาซีนทำได้อย่างรวดเร็ว

เครื่องสนาม เพื่อให้แตกต่างจากทหารราบทั่วไป ทหารในหน่วยเอสเอเอสจึงต้องใช้เครื่องสนามรุ่น1958 ไม่ว่าจะเป็นสายเข็มขัด,สายคาดไหล่หนัง,กระติกน้ำสองอันหุ้มด้วยผ้าใบ, ซองกระสุนปืนเอสแอลอาร์สองอัน,เข็มทิศใส่ไว้ในซองทำจากผ้าใบ กระเป๋ากระสุนเอ็ม16ของสหรัฐ 1อัน และอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือผ้าพันแผล

เครื่องแต่งกาย ทั้งกางเกงและเสื้อคลุมใช้ลายพรางแบบ Disruptive pattern material (DPM) ที่หัวสวมหมวกไอ้โม่งสีดำ

โน๊ท หน่วยส่งทางอากาศดี ไปจนถึงหน่วยจี และกรมเอสเอเอสที่ 22 ปฏิบัติการร่วมกับหน่วยคอมมานโดนาวิกโยธินหลวง ในภารกิจที่อันตรายที่สุดในสงครามฟอล์กแลนด์

พลร่มกองทัพบกสหรัฐ,เกาหลี 1951

อาวุธ ปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติ เอ็ม1 กาแรนด์ ขนาด .30,มีดพก,ปืนพกโคลท์เอ็ม1911เอ1 ขนาด.45 อยู่ในซองหนังสีน้ำตาล พลร่มส่วนใหญ่มักจะใช้ปืนคาร์ไบน์ แบบเอ็ม1เอ1 ซึ่งมีพานท้ายแบบพับเก็บได้ ใช้กระสุนขนาด.30 (แต่กระสุนเล็กกว่ากาแรนด์)

เครื่องสนาม เข็มขัดกระเป๋ากระสุน 10 อัน,กระติกน้ำในซองผ้าใบ,อุปกรณ์ปฐมพยาบาล(กระเป๋าเล็กๆที่ห้อยออกมา จากกระเป๋ากระสุนรอบเอว),อุปกรณ์ขุดสนามเพลาะสร้างที่มั่น,ดาบปลายปืนแบบ เอ็ม 1 (เพิ่มเติมจากมีดพก),ในกระเป๋าสะพายหลังบรรจุอาหารกระป๋อง(เรชั่น) เสื้อบาง,ที่โกนหนวดและอื่นๆ ในระหว่างกระโดดร่มกระเป๋าหลังจะอยู่ระหว่างเข่า

เครื่องแต่งกาย ตามมาตรฐานจะสวมหมวกเหล็กแบบเอ็ม 1(ไม่ใช่หมวกพลร่มสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2),เสื้อแจ็คเก็ตแบบ เอ็ม41,กางเกงกันน้ำแบบ เอ็ม43 โดยจะถูกใส่ไว้อย่างลวมๆเหนือรองเท้าบู๊ตพลร่มซึ่งทำจากหนังสีน้ำตาลเรียก ว่า"โคโคราน"

โน๊ท กรมพลร่มที่ 187 หรือที่เรียกย่อๆว่า 187อาร์ซีที ได้กระโดดร่มลงในเกาหลีสองครั้ง ส่วนหน่วยพลร่มที่ 82กับ11 ถูกเก็บไว้เป็นหน่วยสำรอง ในสงครามเกาหลีนี้ได้มีการริเริ่มแนวคิดที่จะใช้เฮลิคอปเตอร์ขนส่งทหาร ทดแทนการใช้พลร่มกระโดดลงจากเครื่องบินซึ่งสิ้นเปลืองกว่า และจุดกระโดดลงก็ไม่แน่นอนเหมือนเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งต่อมาวิธีนี้เห็นได้เด่นชัดในสงครามเวียดนาม ทำให้ทหารพลร่มถูกลดกำลังพลและบทบาทลง เพราะทหารม้าส่งทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ถูกนำมาใช้แทน

ทหารม้าส่งอากาศที่ 1,เวียดนาม,1966

อาวุธ ปืนไรเฟิลจู่โจมอามาไลท์ เอ็ม16เอ1 (โคลท์ เออาร์15),ระเบิดมือเอ็ม 26,ดาบปลายปืนเอ็ม 7

เครื่องสนาม สายเก่งกับสายเข็มขัดแบบ เอ็ม56 ตามสายเข็มขัดมีกระเป๋ากระสุนปืนเอ็ม16 2อัน กระเป๋าที่ก้นหรืออาจจะเป็นกระติกน้ำหุ้มด้วยผ้าใบสองอัน อุปกรณ์ ส่วนกระเป๋าใหญ่ๆสองอันที่เห็นนั้น ใช้ใส่สายกระสุนของปืนกลเบาอเนกประสงค์ เอ็ม60 เรียกว่า"การป้อนอาหารให้หมู" (ท่าจะกินจุมาก) ด้วยการตั้งตำแหน่งยิง

การแต่งกาย ชุดเดินป่าสีเขียวทำจากผ้าฝ้าย รองเท้าบู๊ตทำจากหนังและไนล่อน ส่วนพื้นรองเท้าทำจากยาง หมวกเหล็กเอ็ม 1 คลุมด้วยผ้าพรางและสายคาดอุปกรณ์ต่างๆ

โน๊ท:ขวดสองขวดที่เห็นคาดอยู่กับหมวกเหล็ก เป็นยาทาสำหรับกันแมลงต่างๆที่คอยรบกวน เช่นพวกยุงโน๊ต ทหารม้าส่งทางอากาศ ได้เปลี่ยนแปลงยุทธวิธีเดิมในการส่งทหารทางอากาศด้วยร่ม มาเป็นการใช้เฮลิคอปเตอร์ ปฏิบัติการโจมตีจากทางอากาศ

หน่วยรบพิเศษสหรัฐ,เวียดนาม,1968(กรีนเบเรต์)

อาวุธ ปืนไรเฟิลจู่โจม เอ็ม16เอ1 (โคลท์ เออาร์ 15) กับดาบปลายปืนเอ็ม16,ปืนพกโคลท์.45,ระเบิดมือ ทั้งหมดห้อยอยู่ตามสายคาดไหล่(สายเก่ง) ส่วนกระเป๋ากระสุนจะห้อยติดอยู่ตายสายเข็มขัดรอบเอว

เครื่องสนาม สายเข็มขัดเอ็ม1956,สายคาดไหล่,กระเป๋ากระสุนเอ็ม16,ซองหนังใส่ปืน โคลท์,อุปกรณ์ปฐมพยาบาลและมอร์ฟีน ทั้งหมดนี้จะห้อยอยู่ที่สายด้านหน้า หัวเข็มขัดทำจากเหล็กเป็นรูปตัวเอ็กซ์ใช้เกี่ยวติดเข้าด้วยกัน ด้านหลังจะสะพายกระเป๋าเดินป่าซึ่งจะมีกระเป๋าใหญ่1กระเป๋า และกระเป๋าเล็กอีก 3อัน สำหรับใส่น้ำ,เครื่องนอน และอุปกรณ์ต่างๆตามแต่ละคนจะพกอะไรไป

เครื่องแต่งกาย ที่ไหล่จะมีตราเครื่องหมายมีดสั้นสีเหลืองคาดด้วยสายฟ้า 3สาย พื้นของตราเป็นสีฟ้า,สวมหมวกบูนี่หน่วยรบพิเศสลายพรางเสือ,ทั้งเสื้อและ กางเกงใช้ลายพรางใบไม้ โดยปกติแล้วขากางเกงจะสวมเข้าไปในรองเท้าบู๊ต แต่ในภาพนี้ขากางเกงคลุมรองเท้าบู๊ตไปเลย รองเท้าบู๊ตทำด้วยไนล่อนและหนัง หรือที่เรียกกันว่ารองเท้าบู๊ตเดินป่า ซึ่งมีการใส่หลายแบบปนกันไป

โน๊ท จงอย่าเรียกหน่วยรบพิเศษสหรัฐว่า"กรีนเบเร่ต์" เพราะนั้นเป็นชื่อที่ฮอลลีวู้ดกับสาธารณะชนเรียกกัน พวกเขาจะเรียกตัวเองว่าหน่วยรบพิเศษ

นาวิกโยธินสหรัฐฯ,เกรนาดา 1983 United States Marine Corps, Grenada 1983

อาวุธ ปืนกลเบาอเนกประสงค์(จีพีเอ็มจี) เอ็ม60 ติดกล่องกระสุน

เครื่องสนาม ในช่วงปลายทศวรรษ1970 โครงการอไลซ์ (เอแอลไอซีอี) ซึ่งต้องการลดน้ำหนักของเครื่องสนามส่วนบุคคลลง ด้วยการให้นาวิกโยธินสวมสายคาดไหล่(สายเก่ง)กับสายเข็มขัดที่ห้อยกระเป๋า บรรจุแม็กกาซีนเอ็ม16 ได้สองแม็กฯ,ปลอกใส่ดาบปลายปืน,ซองพลาสติกใส่พลั่วสนาม,ซองใส่กระติกน้ำซึ่ง มีช่องใส่ยาที่ทำให้น้ำบริสุทธิ์(ฆ่าเซื้อ) ส่วนกระเป๋าใส่ผ้าพันแผลจะห้อยติดกับสายเก่ง

การแต่งกาย ชุดลายพรางแบบ“วู๊ดแลนด์” การติดปักธงชาติไว้ที่ไหล่ ซึ่งเคยใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง ในช่วงทศวรรษที่1980 หมวกเหล็กแบบใหม่ทรง“ฟริทช์”(ที่เรียกแบบนี้เป็นเพราะมันคล้ายคลึงกับหมวก เหล็กของทหาร นาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง)ได้ถูกนำมาใช้ แต่นาวิกโยธินสหรัฐฯในตอนนั้นยังคงใช้หมวกเหล็กแบบ เอ็ม1 คลุมด้วยผ้าพรางคาดด้วยสาย แบบสมัยสงครามเวียดนามอยู่

โน๊ท ในเดือนตุลาคม ปี1983 สหรัฐฯได้ทำการรุกรานเกรนาดา ประเทศเกาะเล็กๆแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บนทะเลแคริเบียน ในทวีปอเมริกากลาง เนื่องจากพวกคอมมิวนิสต์ได้ก่อการจลาจลขึ้น หน่วยนาวิกโยธินสะเทินน้ำสะเทินบก(เอ็มเอยู)ที่25 ได้ทำการขึ้นบกด้วยเฮลิคอปเตอร์จากเรือ ยูเอสเอส ไซปัน และ กวม เพื่อยึดพื้นที่คืนและทำให้รัฐบาลสามารถกลับมาควบคุมประเทศได้อีกครั้ง แล้วจึงถอนกำลังกลับ

ทหารราบดัชในอินโดนีเซีย 1946 Dutch infantryman in Indonesia 1946

อาวุธ ปืนคาร์ไบน์กล(ปืนกลมือ)ของอังกฤษแบบ แลนเชสเตอร์ ขนาด 9มม. กับดาบปลายปืนแบบ 1907 และปืนพกอเมริกันยี่ห้อสมิธแอนด์เวสสัน ขนาด.38

เครื่องสนาม สายเข็ดขัดของอังกฤษแบบ 1937

การแต่งกาย หมวกเหล็กของทหารอังกฤษ สวมบนหมวกแก็ปอ่อนสีเขียวโอลีฟของอเมริกัน และสวมชุดลายพรางผลิดในสหรัฐฯ

โน๊ท หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อาณานิคมของเนเธอร์แลนด์หรือดัช นั้นคืออินโดนีเซียได้มีการเรียกร้องเอกราช จนพวกดัชต้องส่งทหาร 1แสนคนเข้าต่อสู้กับพวกกองโจร เพื่อหยุดการเรียกร้องเอกราช แต่ในที่สุดดัชก็ต้องยอมให้เอกราชแก่อินโดนีเซีย และถอนทหารออกไปในปี 1949

กองโจรกองทัพคอมมิวนิสต์กรีซ,1947 A Guerilla in the Greek Democratic Army 1947

อาวุธ ปืนกลมือ เอ็มพี 40 ของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แม็กกาซีนบรรจุ 32นัด พานท้ายโลหะสามารถพับเก็บได้

เครื่องสนาม เช่นเดียวกับกองโจรทั่วไป พวกเขาจะสวมใส่ชุดแบบชาวบ้านชาวเมือง ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน

การแต่งกาย รองเท้าหนังสีดำ กับผ้าหุ้มข้อเท้าของอังกฤษ กางเกงรบของอังกฤษย้อมสีดำ สวมเสื้อของประชาชนทั่วไป

โน็ต กองทัพคอมมิวนิสต์ เดโมคราทิโคส สตาโตส เอลลาดอส เป็นกองกำลังฝ่ายต่อต้านเยอรมันในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังเยอรมันแพ้ไปแล้วก็ทำสงครามกับกองทัพกรีซ ทำให้เกิดสงครามกลางเมือง จนในที่สุดฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในปี 1949

ทหารกองทัพแห่งชาติกรีซ,1947 A soldier in the Greek National Army 1947

อาวุธ ปืนกลมือขนาด.45 ผลิตในสหรัฐฯแบบ เอ็ม1 เอ1 ทอมสัน

เครื่องสนาม ไม่มีเครื่องสนาม

การแต่งกาย หมวกเบเรต์แบบกองทัพอังกฤษ ติดตราของกองทัพกรีซ กางเกงตามมาตรฐานของอังกฤษ รวมทั้งเสื้อทำจากผ้าฝ้ายด้วย ผ้าหุ้มข้อเท้าทำจากผ้าใบของอังกฤษ ใส่เหนือรองเท้าบู๊ตสีดำ

โน๊ต กองทัพแห่งชาติกรีซ ทำการสู้รบกับกองทัพคอมมิวนิสต์กรีซ ในระหว่างสงครามกลางเมืองระหว่างปี 1945 ถึง 1949 โดยที่คอมมิวนิสต์ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

ทหารตุรกี,ไซปรัส,1974 Turkish soldier in Cyprus in 1974

อาวุธ ปืนกลมือผลิตในสหรัฐ เอ็ม3เอ1 "กรีสกันส์" ขนาด.45 ออกแบบในปี1941 นับว่าล้าสมัยแล้วเมื่อยังนำมาใช้ในปี 1974 ปืนพกในซองหนังนั้นใช้กันหลายรุ่นปะปนกันไป

เครื่องสนาม สายเข็มขัดและสายเก่งของสหรัฐฯ รุ่น1943 กระติกน้ำและซองใส่ก็ทำในสหรัฐฯ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ดาบปลายปืนใช้ของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง(เก่าอะไรป่านนั้น) กระเป๋าใส่กระสุน4อัน ชองปืนไรเฟิลจู่โจม จี 3 กระเป๋าสะพายหลังที่ผลิตในตุรกีนั้น อาศัยต้นแบบมาจากของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง

การแต่งกาย หมวกเบเรต์สีเขียวไม่ติดตราหรือเครื่องหมายใดๆ หรือสวมหมวกเหล็กแบบเอ็ม1 ของสหรัฐ ซึ่งสวมด้วยผ้าพรางของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ชุดเสื้อและกางเกงสีเขียว กางเกงจะใส่เข้าไปในรองเท้าบู๊ตหนังสีดำ สไตล์จีพี

โน๊ต ในวันที่ 20 กรกฏาคม 1974 ตุรกีได้ทำการรุกรานหมู่เกาะไซปรัส เพื่อหยุดไม่ให้เกาะไซปรัสถูกใช้ประโยชน์เป็นฐานทัพโดยกรีซ โดยส่งทหารมาแค่ 40,000คน และรถถังอีกแค่ 200คัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อภารกิจ ในวันนี้ก็ยังมีทหารเหล่านี้อยู่ในเกาะไซปรัส

ทหารกองทัพปฏิวัติของคาสโตร,คิวบา,1959 Soldier in Castro's revolutionary army,Cuba 1959

อาวุธ ปืนไรเฟิลลูกเลื่อนผลิตในสหรัฐฯ สปริงฟิลด์ เอ็ม1903 ชนาด.30

เครื่องสนาม กระเป๋ากระสุนของสหรัฐ(ยึดมาจากทหารฝ่ายรัฐบาล)

การแต่งกาย หมวกเบเร่ต์,เสื้อเชิ้ตกับกางเกง,เสื้อแจ็กเก็ตสนาม,รองเท้าหนัง

โน๊ท ฟิเดล คาสโตร เป็นผู้นำที่ป่าเถื่อนและเป็นพวกมาร์กซิส คาสโตรได้เริ่ม "การเคลื่อนไหว 26 กรกฏาคม" เพื่อโค่นล้มรัฐบาลอันคอรัปชั่นของบาติสต้า เขาใข้เวลาสองปี จึงสามารถได้รับชัยชนะและได้อำนาจไว้ในมือ โดยฟิเดลได้เป็นประธานาธิบดีของคิวบา เมื่อวันที่ 2 มกราคม ปี1959 และดำรงตำแหน่งนี้มาอย่างยาวนาน

ทหารคิวบาในแองโกล่า 1976 Cuban soldier in Angola 1976

อาวุธ ปืนไรเฟิลจู่โจม เอเค-47 ขนาด 7.62มม.,มีดดำรงชีพกับสายห้อย ใช้ทดแทนดาบปลายปืนแบบมาตรฐาน

เครื่องสนาม สายเข็ดขัดกับกระเป๋ากระสุนหนึ่งอัน การแต่งกาย เสื้อและกางเกงเดินป่าสีเขียว ทำจากผ้าฝ้ายขนาดกลาง ผลิตในคิวบา,รองเท้าหนังสีดำ และหมวกเหล็กของโซเวียต

โน๊ท ในปี 1975-76 ทหารคิวบานับเป็นกองกำลังที่มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ และได้เข้าแทรกแซงการสู้รบในประเทศแองโกล่าด้วย

ทหารเอลซาวาดอร์,1980 Infantryman, El Salvador 1980

อาวุธ ปืนไรเฟิลจู่โจมเยอรมันตะวันตก จี3เอ3 ของบริษัท แฮลเลอร์แอนด์โคล์

เครื่องสนาม สายเก่งรุ่น เอ็ม1943 กับสายเข็มขัดเอ็ม56 ผลิตในสหรัฐฯ กระเป๋ากระสุน4อัน กระติกน้ำและพลั่วสนาม

การแต่งกาย ชุดเสื้อและกางเกงสีเขียวมะกอก อาจทำในสหรัฐฯ หมวกเหล็กแบบ เอ็ม1 ของสหรัฐฯ กับสายรัดคาง ในภาพนั้นถูกปล่อยให้หลวมไว้ หากจะใช้รัดคางให้แน่นก็สามารถดึงได้แบบเข็มขัด รองเท้าบู๊ตทำจากผ้าไนล่อนสีเขียวและหนังสีดำ

โน๊ต เอลซาวาดอร์เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างปี 1979 ถึง 1982

อาร์เจนติน่า,หน่วยคอมมานโด บูโซ แท็คติคโค,ฟอล์กแลนด์,1982 Argentina: Buzo Tactico Commando, Falklands 1982

อาวุธ  ปืนกลมือ สเตอลิง แอล3เอ1 ขนาด9มม. (รุ่นเก็บเสียง) ปืนพกบราวนิง 9มม. ระเบิดมือสองลูกห้อยอยู่บนสายเก่งที่หน้าอก

เครื่องสนาม กระเป๋าสะพายหลังแบบสามกระเป๋า ที่เอวคาดกระเป๋าหนังบรรจุแม็กกาซีนปืนกลสเตอลิง สายเข็มขัดเป็นแบบของอเมริกัน กระเป๋ากระสุนจะแตกต่างกันไปตามอาวุธที่ทหารแต่ละนายใช้ เช่นปืนกลอูซี่ และปืนไรเฟิล เอฟเอแอล

การแต่งกาย หมวกไหมพรมสีฟ้า(หน่วยรบพิเศษเท่านั้นที่สามารถสวมได้) เสื้อและกางเกงสีเขียวทำจากผ้าฝ้าย สวมใส่ทับชุดประชาชนสีน้ำเงินดำซึ่งมีเนื้อผ้าหนา ที่เท้าใส่รองเท้าบู๊ตสีดำ ทำจากหนัง

โน๊ท หน่วยคอมมานโดอาร์เจนติน่า ไม่ค่อยมีชื่อเสียงเท่าใดนักเมื่อเทียบกับหน่วยรบพิเศษอื่นๆทั่วโลก (ที่เขียนงี้เพราะเว็บที่ผมเอามามันเป็นของออสเตรเลียอะป่าวหว่า? เลยไม่เข้าข้างอาร์เจนติน่าที่เป็นศัตรูกะอังกฤษ)

ทหารกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติอัลจีเรีย,1960 A soldier in the Algerian National Liberation Army 1960

อาวุธ ปืนคาร์ไบน์เอ็ม 2 ขนาด.30 ของสหรัฐฯ

เครื่องสนาม ส่วนมากจะเป็นสายเข็มขัดของสหรัฐฯ ติดกระเป๋ากระสุนแบบเอ็ม 1 การแต่งกาย กางเกงทำจากผ้าฝ้ายของฝรั่งเศส เสื้อแจ็กเก็ตของสหรัฐฯแบบ เอ็ม 1943,รองเท้าหนัง หมวกแก็ปทำจากผ้าฝ้าย

โน๊ท จากปี 1954 จนได้รับเอกราชในปี 1961 กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติอัลจีเรีย ใช้อาวุธส่วนมากจากของฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาวุธที่ผลิตโดยสหรัฐอเมริกา

พลประจำรถเกราะกองทัพแห่งชาติชาด,ชาด,1970 Armoured car crewman, National Army of Chad, Chad 1970

อาวุธ ตอนอยู่ในรถเกราะปังฮาร์ด พลประจำรถจะไม่พกอาวุธ เพราะจะทำให้เข้าออกรถเกราะได้ลำบาก แต่หากอยู่นอกรถก็จะใช้ปืนไรเฟิลจู่โจม ไทป์56 ที่จีนก็อปฯมาจากเอเค 47 สังเกตที่เอวจะห้อยดาบปลายปืนไว้เป็นอาวุธป้องกันตัวด้วย

เครื่องสนาม พวกเขาจะใช้เครื่องสนามผสมผสานกันไป แล้วแต่ที่จะหามาได้ในเวลานั้น ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน

การแต่งกาย รองเท้าบู๊ตทำจากผ้าใบและยาง เรียกกันว่ารองเท้า"ยิม" ถุงเท้าใช้ของประชาชนทั่วไป เสื้อผ้าจะใช้หลายๆแบบปนเปกันไป มีทั้งสีกากี และสีเขียวเดินป่า ที่ศรีษะสวมหมวกแก็ปที่คาดด้วยหูฟังของพลประจำรถเกราะฝรั่งเศส

โน๊ท ประเทศชาดเกิดการแตกแยก ระหว่างชาวคริสเตียนทางใต้ กับชาวมุสลิมทางเหนือ ซึ่งในปัจจุบันนี้ปัญหาก็ยังคงมีอยู่

กองโจรแนวร่วมปลดปล่อยเอริเทียร์,เอริเทียร์,1979 Guerrilla of the Eritrean Liberation Front, Eritrea 1979

อาวุธ ปืนไรเฟิลจู่โจมของเช็กฯ วีแซด58 ขนาด7.62มม ซึ่งพัฒนามาจากเอเค47

เครื่องสนาม กองโจรในรูปใช้สายเข็มขัดและกระเป๋ากระสุนของอังกฤษแบบ 1937 แต่ในความจริงแล้วพวกเขาไม่มีเครื่องสนามที่เป็นมาตรฐานตายตัว

การแต่งกาย เหล่ากองโจรไม่มีชุดที่ใส่เป็นมาตรฐานแน่นอน

โน๊ท เมื่อสหประชาชาติยอมรับให้เอริเทียร์ถูกรวมเข้ากับเอทิโอเปียร์ ในรูปแบบชองสหพันธรัฐ ก็เกิดความลำบากขึ้นในทันที เพราะต้องถูกต่อต้านโดย แนวร่วมปลดปล่อยเอริเทียร์(อีแอลเอฟ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่นิยมลัทธิมาร์กซิส และพยายามให้เอริเทียร์ปกครองด้วยระบบสังคมนิยม ตามแบบ อีแอลเอฟพี แต่สุดท้ายกลุ่มต่อต้านทั้ง 3ฝ่ายก็เกิดผิดใจกัน จากปัญหาเรื่องเผ่าพันธุ์และความคิดด้านการปกครองที่แตกต่างกัน พวกเขาจึงไม่สามารถรวมตัวกันเป็นหนึ่งในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยเอริเทีย ร์ได้

 

 

เครดิต แทนอามี่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...