ค้นพบหนอนตัวกลมสายพันธุ์ใหม่ สิ่งมีชีวิตใต้ดินลึกสุดในโลก

 

ดูท่าความคิดเดิมที่ว่า ไม่มีสัตว์ชนิดใดสามารถอาศัยอยู่ในใต้พื้นดินที่ลึกมากๆ ได้นั้นคงจะต้องเปลี่ยนไป หลังการสำรวจในเหมืองที่แอฟริกาใต้ ได้ค้นพบความจริงที่น่าพิศวงว่า หนอนตัวกลมสามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่อุณหภูมิ 48 องศาเซลเซียส ตรงบริเวณรอยแตกของเปลือกโลกที่อยู่ใต้พื้นดินลึกถึง 1.3 กิโลเมตรได้ ซึ่งถือเป็นการตีแสกหน้านักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าในความลึกขนาดนั้น คงจะมีเพียงสัตว์เซลล์เดียวเท่านั้นที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยทีมนักวิจัยกล่าวว่า นี่คือสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่อยู่ในพื้นที่ที่ลึกที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจทางวิทยาศาสตร์เลยทีเดียว

จากการวิจัยได้พบหนอนถึง 2 สายพันธุ์ หนึ่งในนั้นเป็นพันธุ์ใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อให้มันว่า mephisto Halicephalobus ตามชื่อของเฟาส์ต (Faust) พระเจ้าแห่งโลกบาดาล ส่วนอีกสายพันธุ์คือ Plectus aquatilis หนึ่งในหนอนตัวกลมที่เรารู้จักกันโดยทั่วไป

ดร.ตุลลิส ออนสต๊อต นักจุลชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน กล่าวถึงการค้นพบครั้งนี้ว่า ครั้งแรกที่เห็นมัน เขาแทบจะหยุดหายใจ และยังกล่าวอีกว่า หนอนพวกนี้น่าจะสามารถอยู่ได้ในพื้นที่ที่มีออกซิเจนน้อยมาก แต่สาเหตุที่หนอนเหล่านี้มาอยู่ในพื้นที่แบบนี้ได้นั้นยังเป็นที่สงสัยอยู่ เพราะน้ำในบริเวณที่พบหนอนเหล่านี้ มีอายุราว 3,000-10,000 ปีเลยทีเดียว ซึ่งพวกเขาเชื่อว่า เดิมหนอนเหล่านี้น่าจะอยู่บนพื้นดิน ก่อนที่การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกจะทำให้มาอยู่ในที่แห่งนี้

ขณะที่ ดร.เกเตน บอร์โกนี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไม่แปลกใจเท่าไหร่ที่จะพบหนอนในพื้นที่ลึกขนาดนี้ เพราะเชื่อว่าหนอนเหล่านั้น มีคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการเอาตัวรอดในสภาพแบบนี้อยู่แล้ว ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ จะเป็นแรงบันดาลใจให้ออกค้นหาสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่อาจซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นพิภพแห่งนี้ต่อไป

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...