เปิดโผผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง รางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งแรก

 

 

เปิดโผผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งแรก






เมื่อวันที่ผ่านมา (3 พ.ค. 54) กระทรวงวัฒนธรรม สมาคมผู้ประกอบกิจการสตั๊นท์ไทย และคณะกรรมการจัดงานประกาศผลรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยม จัดงานประกาศผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งที่ 1 ซึ่งมี คุณคมสันต์ บุญเสร็จ ประธานจัดงาน, คุณสมพงษ์ แซ่อื้อ กรรมการผู้จัดการบริษัทลมกระซิบ ฟิล์ม, คุณบี ไพโรจน์ นักแสดงนำจากภาพยนตร์เรื่องสามพันโบก, คุณกฤษณพงศ์ ราชธา ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ชิบ/หาย และคุณติ๊ก บิ๊กบราเธอร์ นักแสดงจากภาพยนตร์เรื่องจั๊กกะแหล่น ร่วมประกาศรายชื่อด้วย

ผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศ
๑. รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ คุณฉลอง ภักดีวิจิตร
๒. รางวัลเกียรติยศผู้กำกับภาพยนตร์สาขาแอ๊คชั่น คุณพันนา ฤทธิไกร
๓. รางวัลเกียรติยศนักแสดงภาพยนตร์สาขาแอ๊คชั่น คุณจารุณี สุขสวัสดิ์


รางวัลการต่อสู้ยอดเยี่ยม BEST FIGHT AWARD
1. โคตรสู้โคตรโส สตั๊นท์ชายกระโดดถีบกลุ่มสตั๊นท์ที่ขับมอเตอร์ไซค์กลางอากาศ ขณะที่มอเตอร์ไซค์ลอยตัวอยู่ (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม)
2 จีจ้าดื้อสวยดุ การต่อสู้และโหนกระโดดข้ามไปมาของกลุ่มนักแสดงนำและสตั๊นท์บนสะพานแขวนที่ ซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บาแรมยู)
3 บางระจัน2 การสุ่มโจมตีข้าศึกของนักรบผ้าประเจียดบริเวณทุ่งหญ้า เกิดการปะทะกันระหว่างนักแสดงนำและกลุ่มสตั๊นท์ด้วยอาวุธดาบ (พระนครฟิล์ม)
4 องค์บาก3 การต่อสู้ของนักแสดงนำด้วยมือเปล่าโดยอาศัยท่าทางของสัตว์ เช่น ลิงและยักษ์ เป็นต้น กับกลุ่มสตั๊นท์ที่มีอาวุธ และการกระโดดข้ามช้างมาทุบศีรษะสตั๊นท์2คนด้วยมัดทั้งสองข้าง (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยราฟิล์ม)
5 องค์บาก3 การต่อสู้ของนักแสดงนำโดยดัดแปลงจากท่ารำไทยและรำโขนในท่วงท่าต่างๆ เช่น ท่าพระและนาคราช เป็นต้น กับนักแสดงบทภูติสางกา โดยไม่มีสตั๊นท์แสดงแทน (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล,
ไอยราฟิล์ม)

รางวัลสตั๊นท์ไฟยอดเยี่ยม BEST FIRE STUNT AWARD
1 โคตรสู้โคตรโส สตั๊นท์แมนถูกไฟเผาทั้งตัวเป็นเวลานานกว่า 30 วินาที (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม)
2 ตายทั้งกลม สตั๊นท์แมนถูกไฟเผาตั้งแต่คอลงไป โดยไม่ได้ใส่หน้ากากคลุมหน้า (โกลเด้น เอ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์)

รางวัลสตั๊นท์ทำงานบนที่สูงยอดเยี่ยม BEST HIGH WORK AWARD
1 โคตรสู้โคตรโส สตั๊นท์สองคนไล่ต่อสู้กันและกระโดดไปมาบนโครงปูนของอาคารสูง (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม)
2 ท้าชน สตั๊นท์วิ่งแย่งลูกบาสบนหลังคาระหว่างอาคาร และสตั๊นท์แสดงแทนบทนักแสดงนำกระโดดข้ามระหว่างชั้นจากอาคารหนึ่งไปยังอาคาร ฝั่งตรงข้าม (พระนครฟิล์ม, บางกอกฟิล์มสตูดิโอ)
3 อินทรีแดง สตั๊นท์แสดงแทนนักแสดงในบทตำรวจ กำลังปีนบันไดลิงเพื่อไล่ตามอีกฝ่าย แต่ถูกเตะลงมาเทียบเท่าอาคาร 3 ชั้น และแขวนตัวพักก่อนตกลงมาสู้ด้านล่างเทียบเท่าอาคาร 2 ชั้น (ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)

รางวัลควบคุมยานพาหนะยอดเยี่ยม BEST WORK WITH A VEHICLE AWARD
1 มายเบสท์บอดี้การ์ด การขับรถยนต์ไล่ล่าระหว่างสองฝ่ายบนถนน มีการกระแทกและชนกันของตัวรถ และมีรถที่ไม่เกี่ยวข้องกับสองฝ่ายสัญจรร่วมด้วย (โอเรียนทัล อายส์)
2 มายเบสท์บอดี้การ์ด รถยนต์ของหน่วยรัฐขับเดินหน้า ส่วนรถของผู้ร้ายขับถอยหลังซึ่งอยู่คนละช่องทางเดินรถ มีการยิงปืนเข้าหากันออกมาจากรถทั้งสอง (โอเรียนทัล อายส์)
3 โคตรสู้โคตรโส การขับรถยนต์พุ่งเข้าชนกับสตั๊นท์จำนวนมาก (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม)
4 หนูกันภัย ศึกมหายันต์ กลุ่มสตั๊นท์ขับรถถีบไล่ล่ารถถีบของนักแสดง มีการต่อสู้ด้วยมีดและมือเปล่าระหว่างทาง และการเสียหลักชนกันของรถถีบ (โอม มหารวย ฟิล์ม)


รางวัลสตั๊นท์ความสามารถพิเศษยอดเยี่ยม BEST SPECIALTY STUNT AWARD
1 มายเบสท์บอดี้การ์ด สตั๊นท์แสดงแทนถูกจับเหวี่ยงให้ส่วนบนของร่างกายชนกับกระจก (โอเรียนทัล อายส์)
2 โคตรสู้โคตรโส สตั๊นท์ในชุดดำสามารถใช้กระบองสำหรับการต่อสู้อย่างชำนาญ (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม)
3 จีจ้าดื้อสวยดุ สตั๊นท์ใช้อุปกรณ์เครื่องกระโดดที่เท้า (แมดฮอป) ที่ดัดแปลงมาเป็นอาวุธสำหรับต่อสู้อย่างคล่องแคล่ว (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บาแรมยู)
4 สามพันโบก สตั๊นท์กระโดดหลบลูก ระเบิดที่ระเบิดขึ้นจากพื้นซึ่งห่างไม่ถึง 1 ฟุต (ฟิล์มเฟรมโปรดักชั่น, เพชรพันนา โปรดักชั่น, ไพรมเวิร์ค สตูดิโอ)
5 องค์บาก3 นักแสดงนำโหนกับงาช้างเหวี่ยงไปเตะคู่ต่อสู้ รวมทั้งการกระโดดไปมาและต่อสู้บนหลังช้าง (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยรา ฟิล์ม)


รางวัลผู้กำกับฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม BEST STUNT COORDINATOR AWARD
1 มายเบสท์บอดี้การ์ด ประดิษฐ์ สีเหลี่ยม, KU HUEN CHIU (โอเรียนทัล อายส์)
2 คนไททิ้งแผ่นดิน เป้า ปรปักษ์ (กันตนา โมชั่น พิคเจอร์)

3 ซามูไรอโยธยา ยุทธนา เหมือนวาจา, ธนาวุติ เกสโร, ระม้าย โมริพันธ์ (มหากาพย์)
4 ท้าชน แผงฤทธิ์ แสงชา (พระนครฟิล์ม, บางกอกฟิล์มสตูดิโอ)
5 องค์บาก3 พนม ยีรัมย์, พันนา ฤทธิไกร (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยราฟิล์ม)


รางวัลสตั๊นท์หญิงยอดเยี่ยม BEST STUNT by A STUNT WOMAN AWARD
1 4 สิงห์คอนเฟิร์ม ขวัญใจ จันทอง (ดิ แอ๊คชั่น)
2 จีจ้าดื้อสวยดุ ญาณิน วิสมิตะนันทน์ (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บาแรมยู)
3 สวยซามูไร ประพิมพ์พร กาญจันดา
(สตั๊นท์แสดงแทนของ โสภิตา ศรีบานชื่น) (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, จอไทย)
4 คนไททิ้งแผ่นดิน อริสา สนธิรอด (กันตนา โมชั่น พิคเจอร์)


รางวัลสตั๊นท์ชายยอดเยี่ยม BEST STUNT by A STUNT MAN AWARD
1 โคตรสู้โคตรโส ชัชพล อภิชาติ (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม)
2 สามพันโบก ไพโรจน์ บุญเกิด (ฟิล์มเฟรมโปรดักชั่น, เพชรพันนา โปรดักชั่น, ไพรมเวิร์ค สตูดิโอ)
3 องค์บาก3 พนม ยีรัมย์ (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยรา ฟิล์ม)
4 องค์บาก3 ชูพงษ์ ช่างปรุง (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยรา ฟิล์ม)
5 จีจ้าดื้อสวยดุ วิรัช เข็มกลัด(สตั๊นท์แสดงแทนของ รุ้งตะวัน จินดา ซิงห์) (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, บาแรมยู)


รางวัลฉากเสี่ยงตายยอดเยี่ยม HARDEST HIT AWARD
1 โคตรสู้โคตรโส สตั๊นท์ 14 คน แบ่งเป็นข้างละ 7 คน วิ่งพุ่งเข้ามาหากันจาก 2 ฝั่ง และตกลงบนความสูงเทียบเท่าตึก 3 ชั้น โดยไม่มีสลิง (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม)
2 โคตรสู้โคตรโส การขับรถยนต์พุ่งเข้าชนกับสตั๊นท์จำนวนมาก (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม)
3 โคตรสู้โคตรโส การต่อสู้ระหว่างนักแสดง 2 คน โดยไม่มีตัวแสดงแทน ใต้ท้องรถคอนเทนเนอร์ขณะที่รถกำลังวิ่ง (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, นาฟิล์ม)
4 สามพันโบก การต่อสู้ระหว่างนักแสดงและสตั๊นท์บนซากรถยนต์ที่เรียงสูงเป็นแนวตั้ง 4 คันรถ (ฟิล์มเฟรมโปรดักชั่น, เพชรพันนา โปรดักชั่น, ไพรมเวิร์ค สตูดิโอ)
5 องค์บาก3 การต่อสู้ระหว่างนักแสดงและสตั๊นท์กลุ่มหนึ่งบนหลังช้าง รวมทั้งการโหนกับงาช้างเหวี่ยงไปปะทะคู่ต่อสู้ และเตะสตั๊นท์ตกลงมาจากหลังช้าง (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล, ไอยราฟิล์ม)


คุณศฐาณพงศ์ ลิ้มวงษ์ทอง กรรมการตัดสิน ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “การตัดสินรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งที่ 1 นี้ ได้พิจารณาคัดเลือกจากภาพยนตร์ไทยที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552-2553 ทั้งหมด ซึ่งไม่ได้พิจารณาเฉพาะภาพยนตร์แนวแอคชั่นเท่านั้น แต่พิจารณาจากภาพยนตร์ทุกแนวไม่ว่าจะเป็น ดราม่า สยองขวัญ ตลก และอื่นๆ เพราะกรรมการจะคัดเลือกและดูเป็นฉากๆ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์แนวสยองขวัญเรื่องตายทั้งกลม ที่มีฉากคนถูกเผาตัว ซึ่งเวลาแสดงจริงต้องใช้สตั๊นท์ไฟแสดงแทน หรือภาพยนตร์เรื่องอนุบาลเด็กโข่ง ซึ่งเป็นหนังเด็ก แต่ก็มีฉากที่เราได้พิจารณาด้วย อย่างฉากที่กลุ่มเด็กแก๊งคิงคอง บุกเข้ายึดฐานปฏิบัติการของกลุ่มเด็กแก๊งไทเกอร์ โดยได้ใช้อาวุธเป็นลูกโป่งน้ำก็ดี เป่าเมล็ดถั่วขียวใส่ฝ่ายตรงข้ามก็ดี ซึ่งงจัดเป็นฉากการต่อสู้ เป็นต้น ดังนั้นรางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง จนถึงผู้ได้รับรางวัล สามารถตอบคำถามได้ว่าให้เพราะอะไร ตรงไหน ฉากไหน นับว่าจะชัดเจนมาก ยกเว้น รางวัลสตั๊นท์ชาย-หญิงยอดเยี่ยม และรางวัลผู้กำกับฉากแอคชั่นยอดเยี่ยมที่มองเป็นภาพรวมในเรื่องนั้นๆ ซึ่งจะมีข้อสังเกตแตกต่างกันไป”

ด้านคุณสมประสงค์ เวชศิลป์ กรรมการตัดสินร่วมพูดคุยถึงการตัดสินด้วยว่า “กรรมการทุกท่านมีความเป็นอิสระและมีเอกภาพ เราจะเน้นการพูดคุย แสดงความเห็นกันก่อนในแต่ละรางวัล ไม่ได้เน้นการโหวตมากนัก เพราะกรรมการแต่ละท่านก็จะมีแง่มุม เหตุผลที่ต่างๆ กัน เมื่อได้รับฟังความคิดของแต่ละคนแล้ว จึงค่อยๆ ช่วยกันหาผู้สมควรได้รับรางวัล”

สุดท้ายคุณคมสันต์ บุญเสร็จ ประธานจัดงานได้ขอเชิญชวนสื่อมวลชนทุกท่านและพี่น้องวงการภาพยนตร์ และสตั๊นท์แมนทุกคนร่วมงานประกาศผลรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม 2554 ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ เวลา 16.00 น. – 21.00 น.

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...