7 คำถามคาใจ มนุษย์เงินเดือน

 

1. ทำไมถึงเปิดเผยตัวเลขเงินเดือนไม่ได้ ทั้งๆ ที่เป็นเพื่อนสนิทกันมาก
    

เพราะเรื่องเงินเดือนเป็นข้อมูลเฉพาะตัวและขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้านายเป็นสำคัญ ลอง

นึกง่ายๆ คุณจะยอมรับความจริงและทำงานต่อไปแบบไม่รู้สึกอะไรเลยได้หรือไม่ หาก

ทราบว่าเจ้านายประเมินศักยภาพในการทำงานของเพื่อนรัก (ซึ่งคุณคิดมาตลอดว่าเก่ง

น้อยกว่าคุณนิดเดียว) สูงกว่าคุณมาก ที่สำคัญ ขอบอกเลยว่าหลายบริษัทได้ตั้งกฎห้าม

เผยแพร่ตัวเลขเงินเดือน ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นเพื่อนสนิทของคุณหรือไม่ก็ตาม บางแห่งหาก

มีการละเมิดกฎข้อนี้ อาจถูกลงโทษทางวินัยได้

2. ถ้าเราไม่ใช้วันพักร้อน ทางบริษัทจะต้องจ่ายคืนเป็นเงินแก่

พนักงานหรือไม่
    

โดยทั่วไปแล้วบริษัทจะต้องจ่ายคืนเป็นเงินแก่พนักงานคนนั้นๆ แต่กรณีที่บางบริษัทไม่

จ่ายเป็นเงิน ก็อาจสมทบวันพักร้อนที่ไม่ได้ใช้รวมเข้ากับวันพักร้อนของปีถัดไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่

กับระเบียบของแต่ละบริษัท

3. ได้งานตำแหน่งพนักงานขาย และบริษัทต้องการให้เราจ่าย

เงินสดจำนวนหนึ่งเป็นเงินค้ำประกัน กลัวถูกหลอกค่ะ
    

โดยทั่วไปบริษัทมักจะให้เราหาคนมาค้ำประกัน ซึ่งน่าจะเพียงพอแล้ว แต่หากคุณประเมิน

ในเบื้องต้นด้วยตัวเองแล้วรู้สึกว่าบริษัทมีชื่อเสียงและคุณเองก็อยากร่วมงานด้วยจริงๆ ก็

ควรเจรจาต่อรองกับนายจ้าง เช่น ให้บริษัทหักจากเงินเดือนของเรา ซึ่งจะเป็นเดือนละ

เท่าไรก็ว่าไป

4. หลายบริษัทเกิดเรียกตัวให้ไปทำงานในเวลาไล่เลี่ยกันตัดสิน

ใจไม่ถูกเลย
    

ควรจัดอันดับก่อนเลยว่าคุณอยากจะทำงานกับบริษัทไหนมากที่สุด จากนั้นค่อยมองดู

ปัจจัยอื่นๆ ตามมา ได้แก่ การเดินทาง, ฐานเงินเดือน โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน ฯลฯ

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะตอบปฏิเสธบริษัทไหน ควรปฏิเสธแบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น

พร้อมขอบคุณที่เขาพิจารณาเลือกคุณด้วยเป็นดีที่สุด

5. สัญญาการจ้างงานแบบปีต่อปีใกล้จะหมดอายุ หากบริษัทไม่

ต่อสัญญา เราจะได้เงินค่าชดเชยหรือไม่
    

กรณีลูกจ้างตามสัญญาจ้าง เมื่อไม่มีการต่อสัญญา นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชย

เพราะตามสัญญาก็มีการระบุชัดเจนอยู่แล้วว่า บริษัทตกลงจะจ้างคุณทำงานตั้งแต่เมื่อไร

สิ้นสุดเมื่อไร ซึ่งถือเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเอง

6. สนใจเรียนปริญญาโท เท่าที่ฟังๆ สาขาที่รุ่งก็มีด้านไอทีกับ

การตลาด ไม่ทราบว่าจะเลือกเรียนด้านไหนดี
    

การเลือกสาขาสำคัญก็จริง แต่คุณควรรู้จักตนเองเป็นอันดับแรก เช่น หากประเมินตัวเองว่

าชอบทำงานเป็นระบบมากกว่าการใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือชอบทำงานกับตัวเอง

มากกว่าพบปะผู้คนมากหน้าหลายตา ก็ควรเลือกเรียนไอที เป็นต้น ต่อจากนั้นค่อยเลือก

สาขา โดยมองเป้าหมายว่า ต้องการเรียนเพื่อรู้หรือเพื่อนำไปต่อยอดทำมาหากินใน

อนาคต ซึ่งถ้าเป็นข้อหลัง คุณก็ต้องเลือกสาขาที่นำมาปรับใช้กับงานที่ทำอยู่จึงจะดีที่สุด

7. อายุงานยังน้อย แต่ได้รับการโปรโมท พอเพื่อนร่วมงานรู้ก็

เริ่มตีตัวออกห่างและพูดจาเสียดสี ทนรับความกดดันไม่ไหวจึง

ลาออก แต่มาเจอเหตุการณ์เดียวกันในที่ทำงานใหม่อีก
    

การเป็นน้องใหม่หรืออายุงานน้อยแต่ได้เลื่อนขั้น เป็นไปได้ที่จะสร้างความอิจฉา เพราะคง

มีบางคนที่เฝ้ารอตำแหน่งที่คุณได้รับอยู่เช่นกัน แต่ใช่ว่าคุณจะต้องลดคุณภาพงานของ

ตัวเองหรือย่ำอยู่กับที่เพื่อความสบายใจ ควรพัฒนาตัวเองต่อไปดีกว่ามัวแก้ไขความคิด

ของคนอื่น
    

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมพิจารณาดูว่าที่ผ่านมาคุณสนใจแต่งานจนลืมสร้างมนุษยสัมพันธ์กับ

เพื่อนร่วมงานหรือเปล่า ถ้าให้ดีควรทำงานเต็มที่เหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมมนุษยสัมพันธ์เข้า

ไป หมั่นสร้างรอยยิ้มใส่ใจในการสร้างความดีต่อคนอื่นแม้เพียงเล็กน้อย น่าจะช่วยได้ แม้

เปลี่ยนใจใครไม่ได้ทั้งหมด แต่อุณหภูมิในห้องทำงานน่าจะดีขึ้น

 

ที่มา


6 เม.ย. 54 เวลา 15:43 2,313 3 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...