ปรากฎการณ์ "เดจาวู" เหตุการณ์ที่เหมือนเคยเกิดขึ้นแล้ว[EP1]

เดจาวู

เป็นภาษาฝรั่งเศส: Déjà vu - แปลว่า เคยได้พบเห็นมาแล้ว คำว่าเดจาวูได้บันทึกขึ้นมาจากนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส 
Emile Boirac (1851–1917) ในหนังสือ L'Avenir des sciences psychiques 
(แปลว่า อนาคตของวิทยาศาสตร์จิตวิทยา) สำหรับอาการเดจาวูคือรู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นเคยพบมาแล้ว 
ทั้งๆที่เพิ่งพบครั้งแรก โดยเราอาจจะคิดว่าเราเพ้อฝันไป

มีการอธิบายว่ามนุษย์ในบางครั้งมีความรู้สึกว่า ตนเองเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว แต่จำไม่ได้ว่าในฝันหรือในอดีต
 เดจาวูไม่เหมือนฝัน มันเกิดได้แม้กระทั่งในเวลาตื่น

เดจาวู เป็นประสบการณ์ทางจิต ที่เกิดได้กับทุกคน และทุกเวลา อาจเป็นอดีตชาติ อาจเป็นโลกคู่ขนาน 
อาจเป็นพลังจิต หรืออาจเป็นแค่ภาพลวงตาทางสมอง


 

โดยเมื่อเกิดเดจาวูนั้นจะทำให้เรามองเห็นอนาคตที่จะเกิดขึ้นกับเรา 

เช่นได้ไปสถานที่นี้ ได้เจอคนคนนี้ บางคนอาจจะจำได้ขึ้นใจแต่บางคนจะเป็นแค่ความทรงจำที่รางเลือน 
จนเมื่อได้ไปยังสถานที่นั้นจริงๆ ได้เจอคนผู้นั้นจริงๆ

อับบราฮับ ลินคอร์น ก็เคยเห็นเดจาวู เขาเห็นว่าตนจะโดนลอบสังหารและไม่มีใครหยุดได้ 
ก่อนนอนเขาได้กล่าวอำลากับทหารที่รักษาการนอกห้องประธานาธิบดีว่า ลาก่อนผมคงไม่ได้เจอคุณอีกแล้ว
หลังจากนั้น เขาก็โดนลอบยิงเข้าที่หน้าอกเสียชีวิตทันที

เดจาวูยังเป็นปรากฏการณ์ที่หาคำตอบไม่ได้ แต่มันก็เกิดขึ้นทุกๆวัน กับคนหลายๆคน 
ในหลายๆประเทศ ไม่แน่ว่าคุณอาจได้เห็นเดจาวูของคุณก็เป็นได้

ข้อมูลต่อไปนี้นำมากจากเว็บวิกิพีเดีย ขอขอบคุณเว็บวิกิพีเดียไว้ด้วยครับ

      คำว่าเดจาวูได้บันทึกขึ้นมาจากนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส Emile Boirac (1851–1917) 
ในหนังสือ L'Avenir des sciences psychiques (แปลว่า อนาคตของวิทยาศาสตร์จิตวิทยา)

อาการเดจาวูคือรู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นเคยพบมาแล้ว ทั้งๆที่เพิ่งพบครั้งแรก โดยเราอาจจะคิดว่าเราเพ้อฝันไป

มนุษย์ในบางครั้งมีความรู้สึกว่า ตนเองเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว แต่จำไม่ได้ว่าในฝันหรือในอดีต 
เช่น ไปเที่ยวต่างจังหวัดที่ไม่เคยไปมาก่อน เดินไปยืนที่ระเบียงแล้วรู้สึก ตนเองคุ้นกับระเบียงนี้ มุมนี้ และการยืนแบบนี้..

บางคนรู้สึกว่าตนนั่งรถทัวร์กลับต่างจังหวัดตอนดึก ระหว่างทางเห็นอุบัติเหตุข้างทาง แล้วก็ผ่านไป 
สักพักก็เห็นอีก เห็นอยู่เรื่อย ที่สำคัญเป็นรถคันเดิม คนเดิม บางทีกำลังหันมามองเขาด้วย 
โดนที่ไม่ใช่ฝันแน่นอน พอรู้สึกตัวอีกที รถจอด ปรากฏว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเหมือนที่เคยเห็น

เดจาวูไม่เหมือนฝัน มันเกิดได้แม้กระทั่งในเวลาตื่น

เดจาวู เป็นประสบการณ์ทางจิต ที่เกิดได้กับทุกคน และทุกเวลา อาจเป็นอดีตชาติ อาจเป็นโลกคู่ขนาน 
อาจเป็นพลังจิต หรืออาจเป็นแค่ภาพลวงตาทางสมอง

 



ทฤษฎีแรก อดีตชาติ
สิ่งใดก็ตามที่เคยเกิดไปแล้วในอดีต จะย้อนกลับมาเกิดซํ้าอีก เราจะผ่านประสบการณ์มากมาย 
และบางสิ่งอาจหลงเหลือในความทรงจำ แล้วย้อนกลับมาเกิดอีก ทำให้รู้สึกว่าเคยเห็นมาก่อน

เดจาวู เป็นประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ.. ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า เดจาวู มันเกิดจากการที่ขณะหลับ 
จะมีการหลับอยู่หลายขั้น (ประมาณ 5 ขั้น) ถ้าเห็นอนาคตที่เคยทำ ก็จะอยู่ประมาณขั้นที่ 3 ยิ่งขั้นมากขึ้น 
ความสัมพันธ์กับร่างกายและวิญญาณ จะยิ่งห่างไกลกันออกไป ถ้าหลับลึกถึงขั้นที่ 5 ก่อนหลับจะรู้สึกชาตามร่างกายทั้งตัว 
ขยับตัวเองไม่ได้ พูดไม่ได้ (ลักษณะที่คนทั่วไปเรียกว่าถูกผีอำ) ถ้าหลับในสภาพนี้ อัตราค่าซิงโครกับร่างกายจะลดต่ำ ลงจนเหลือ 0 แล้ววิญญาณก็จะหลุดออกจากร่างกาย..


ทฤษฎีที่สอง พลังจิต
บ้างก็ว่า เดจาวู เป็นพลังจิตรูปหนึ่ง บ้างก็ว่าเป็นทิพจักขุญาณ (ความรู้คล้ายตาทิพย์) ซึ่งได้มาจากการเจริญสมถะภาวนาในหมวดของกสิณ 3 กอง
คือ เตโชกสิณ (กสิณไฟ), โอทากสิณ (กสิณสีขาว) และ อาโลกสิณ (กสิณแสงสว่าง) จากทั้งหมด 10 กอง

เราทุกคนมีพลังจิต เพียงแต่จะอ่อนจะเข้ม บางทีเพราะเราไม่ได้ฝึก จะเก็บกดไว้ภายใน วันดีคืนดีก็ล้นออกมา ตามตำรา ถ้าได้ฝึก เราสามารถควบคุมได้

มีนักพยากรณ์หลายคน พยากรณ์ได้จากการเพ่ง ว่ากันว่า มีผู้หนึ่งมีเดจาวูแรงกล้ามาก หาใครเปรียบได้ไม่ เขาชื่อ นอสตราดามุส


ทฤษฎีที่สาม จักรวาลคู่ขนาน
อธิบายเกี่ยวกับ โลกคู่ขนาน หรือ จักรวาลคู่ขนาน ก่อนหมายถึง จักรวาลที่ดำเนินไปพร้อมกับจักรวาลที่เราอยู่นี้ ทฤษฎีนี้นักฟิสิกส์ริเริ่มคิดขึ้นมา มีเหตุการณ์ที่เราลังเลอยู่ 2 ทาง แต่เราก็ตัดสินใจไปทางหนึ่ง แล้วคิดไหมว่า ถ้า ณ วันนั้นเราติดสินใจเป็นอย่างอื่น อะไรจะเกิดขึ้น

ในโลกนี้ที่เรามีตัวตนอยู่ในขณะนี้ ขณะเดียวกันก็มีเราอีกคนหนึ่งในอีกโลกหนึ่ง และมีโลกคู่ขนานมากมายนับไม่ถ้วน..

เช่น ขณะนี้เราได้ตัดสินใจบางสิ่ง ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ ขณะที่อีกคนของเราได้ตัดสินใจไปอีกทางทำให้ชีวิตตนเอง 

และผู้อื่นเสียหาย ก็เป็นได้ อีกตัวอย่าง บางครั้งคุณอยากฆ่าตัวตายแต่คุณล้มเลิก บางทีคุณในโลกคู่ขนานอาจฆ่าตัวตายไปแล้วก็ได้อะไรประมาณนี้

ตัวอย่าง ปัญหาทางทฤษฎีมิติเวลา สมมติคุณเดินทางย้อนเวลาได้ เมื่อวานคุณเก็งหุ้นตัวหนึ่ง วันนี้หุ้นนั้นล้ม คุณล้มละลาย 
คุณเดินทางย้อนเวลาไปเตือนคุณในอดีตคุณในอดีตรู้คำเตือน และยกเลิกหุ้นตัวนั้น เมื่อวานคุณไม่ได้ถือหุ้นตัวนั้น ถ้าเช่นนั้น 
วันนี้คุณไม่ได้ล้มละลาย ในเมื่อคุณไม่ได้ล้มละลาย คุณก็ไม่ได้เดินทางย้อนเวลาไปบอกตัวเองในอดีต คุณในอดีตก็ไม่รู้ว่า 
หุ้นตัวนั้นจะล้ม และเก็งหุ้นตัวนั้นตกลงวันนี้คุณล้มละลายหรือเปล่า

ทฤษฎีเกี่ยวกับโลกคู่ขนาน จึงถูกคิดขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ความผันผวนของมิติเวลาเหล่านี้ ทุกๆเหตุการณ์ที่เรามี 2 ตัวเลือก 
จะเกิดโลกคู่ขนาน 2 โลก และจาก 2 โลก ถ้าเราเจอเหตุการณ์อื่นที่ต้องตัดสินใจ 2 ทาง แต่ละโลก จะเกิดโลกคู่ขนานอีก 2 โลก 
โลกคู่ขนานจึงมีจำนวน นับไม่ถ้วน

จากตัวอย่างเรื่องหุ้น ทฤษฎีอธิบายว่า คุณไม่อาจเปลี่ยนอดีตของตัวได้ เมื่อคุณเดินทางไปบอกตัวเองให้เลิกหุ้นนั้น คุณในอดีต 
ที่ตัดสินใจไม่เอาหุ้นนั้น จะเกิดอนาคตที่วันนี้คุณไม่ล้มละลาย.. จริง แต่เป็น คนละอนาคต กับวันนี้ของคุณ ที่คุณล้มละลาย คือเกิดเป็น 2 โลก 
คุณกลับมาปัจจุบัน โลกวันนี้ คุณก็ยังล้มละลายอยู่ดี แต่โลกที่คุณย้อนไปบอก คุณอีกคนนั้นเขาไม่ล้มละลาย

(ถ้าใครเคยดูการ์ตูนดราก้อนบอลแซดคงเข้าใจมากขึ้น ทรังค์ย้อนเวลาจากโลกที่ถูกหมายเลข 17,18 ทำลาย มาในปัจจุบัน ในที่สุดโลกที่เขามา 
ไม่ถูกทำลาย แต่เขากลับไป โลกของเขาก็ยังเป็นโลกที่ถูกทำลายอยู่ดี ไม่เช่นนั้นเขาจะมาได้อย่างไร)


มีคนผูกทฤษฎีเดจาวู กับทฤษฎีจักรวาลคู่ขนาน กล่าวว่า การที่เรารู้สึกหรือเห็นภาพที่คล้ายว่าเคยทำมาก่อน นั่นแหละ คุณเคยทำจริง 
แต่เป็นคุณในอีกโลกหนึ่งต่างหากที่ได้ทำ คุณในทุก ๆ โลก ถูกผูกกันด้วยสายใยบางอย่าง อาจเป็นเพราะ สมองมีคลื่นตรงกัน 
ก็เป็นคุณคนเดียวกันนี่นา ในบางจังหวะที่เหมาะสม กระแสประสาทจูนกัน คุณก็ได้รับรู้ถึงกระแสความคิดจากคุณในอีกโลก


ทฤษฎีสุดท้าย คิดไปเอง
ตามแนวคิดของหลักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เกิดจากสมองแปลข้อมูลผิดพลาด พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่ได้เห็นมาแล้วหรอก แต่คิดไปว่าเห็นมาแล้ว

ทางการแพทย์เรียกว่า การไหลของคลื่นกระแสไฟฟ้าในสมองเกิดการผิดปกติ ทำให้การกระทำที่กำลังทำอยู่ ณ ขณะนั้น 
คลับคล้ายว่าเคยเกิดมาก่อนหน้านี้มาแล้ว แต่ไม่สามารถจำเวลาได้..

สมองคนเราก็เหมือนเครื่องจักรย่อมเกิดข้อผิดพลาด บ้างอธิบายว่า เดจาวู เกิดจากเมื่อสมองรับภาพมาจากประสาทตา
 ก็นำมาแปลความหมาย สมองมี 2 ซีก ตามี 2 ข้าง ประสาทตาซ้ายเข้าสมองซีกขวา ประสาทตาขวาเข้าสมองซีกซ้ายฉะนั้นสมองทั้งสอง 
ต้องทำงานประสานกันและกันอย่างมาก

เมื่อเกิดสมองข้างหนึ่ง เกิดส่งข้อมูลมาช้าไปเพียงนิดเดียว ทำให้สมองแปลความหมายของภาพนั้นว่า 
เป็นภาพจากความจำไม่ใช้ปัจจุบันทำให้รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เจอนั้นเคยเห็น มันมาก่อน..

มีหลักฐานว่า โดยส่วนมาก คนที่เป็นลมบ้าหมู หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็น จะมีโอกาสเกิดบ่อยกว่า 
และมีโอกาสเกิดบ่อยมากขึ้น ก่อนที่จะมีอาการชักกระตุก

6 ธ.ค. 53 เวลา 00:21 17,097 12 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...