อย่าพลาด !! วันแม่ 12 สิงหาคมนี้ รอชม ?ราชาฝนดาวตกเพอร์ซิอัส?

ข่าวจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย แจ้งว่า ในปีพ.ศ. 2553 มีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์น่าสนใจอย่างยิ่งในคืนวันที่ 12 สิงหาคม สามารถชมฝนดาวตกเพอร์ซิอัส ซึ่งเป็นราชาแห่งฝนดาวตก เพราะว่ามาจากสะเก็ดดาวหาง 109 พี/สวิฟต์-ทัตเทิล ซึ่งทิ้งไว้ในอวกาศ และโลกได้ผ่านเข้าไปในสายธารสะเก็ดดาวดังกล่าว เมื่อถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ เกิดสีสันสวยงาม และมีลูกไฟ (ไฟร์บอล) เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจำนวนที่สามารถเห็นได้ในประเทศไทยสูงสุด 56 ดวงต่อชั่วโมง

          นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสดีที่จะเห็นดาวเคราะห์เรียงกันสามารถจะดูด้วยตาเปล่า และจะใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูดาวศุกร์ ดาวอังคาร และวงแหวนดาวเสาร์ในเวลาหัวค่ำด้วย ดังนั้นสมาคมดาราศาสตร์ไทยขอเชิญชวนสมาชิกสมาคม และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ในวันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม-เช้าวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2553 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี

          สำหรับผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย เลขที่ 928 ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2381-7409, 0-2381-7410 โทรสาร. 0-2381-7410 หรืออีเมล์thaiastro@hotmail.com หรือติดต่อคุณสุกัญญา พึ่งผลงาม โทร. 08-6889-1672
 

 
ตำแหน่งเรเดียนต์ของฝนดาวตกเพอร์ซิอัส ปี 2545
 ความเป็นมา 

          ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสเริ่มปรากฏในบันทึกของชาวจีน มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 36 นอกจากนี้ยังพบในบันทึกของญี่ปุ่นและเกาหลีในคริสต์ศตวรรษที่ 8, 9, 10 และ 11 จนกระทั่งปี 1835 จึงได้มีการค้นพบว่าเป็นดาวตกที่มีทิศทางพุ่งออกมาจากกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสจากการคำนวณของจิโอวานนี เชพพาเรลลี จึงพบว่าดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้มีวงโคจรใกล้เคียงกับดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล ซึ่งเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี 1862 และอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงมีอัตราการเกิดดาวตกสูงมากในช่วงปี 1861-1863

          ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อัตราการเกิดดาวตกลดลงอย่างมาก ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติในปี 1920, 1931 และ 1945 ระหว่างปี 1973 ไบรอัน มาร์สเดน ได้พยากรณ์ว่าดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล จะกลับมาในปี 1981 โดยให้ค่าความคลาดเคลื่อนไว้ที่ 1 ปี หลังจากนั้นอัตราการเกิดดาวตกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปี 1976-1983 แม้ว่าจะไม่มีการค้นพบดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิลตามการพยากรณ์ของมาร์สเดน

          ต้นทศวรรษ 1990 มาร์สเดนได้ตีพิมพ์ผลการคำนวณครั้งใหม่ โดยพยากรณ์ว่าหากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล เป็นดาวหางดวงเดียวกับที่เคกเลอร์มองเห็นในปี 1737 ดาวหางดวงนี้น่าจะเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในเดือนธันวาคม 1992 ซึ่งปรากฏว่าได้มีการค้นพบดาวหางดวงนี้อีกครั้งเมื่อปลายฤดูร้อนของปีนั้น ปีถัดมาปรากฏว่าฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีอัตราการเกิดสูงถึง 200-500 ดวงต่อชั่วโมง โดยมองเห็นได้ในยุโรป

 
ตำแหน่งจุดกระจายของฝนดาวตกเพอร์ซิอัส ปี 2547
 
ตำแหน่งจุดกระจายของฝนดาวตกเพอร์ซิอัส ปี 2548
 ข้อมูลเพิ่มเติม
    * ดาวตกจากฝนดาวตกเพอร์ซิอัสส่วนใหญ่มีสีขาว-เหลือง และสามารถพบลูกไฟได้เกือบครึ่งหนึ่งของดาวตกทั้งหมด
    * ดาวตกจากฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีอัตราเร็วประมาณ 59 กิโลเมตรต่อวินาที ช้ากว่าฝนดาวตกสิงโตซึ่งมีอัตราเร็ว 71 กิโลเมตรต่อวินาที
 
 
 
 
.
 
31 ก.ค. 53 เวลา 20:07 7,584 5 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...