ตัดหัว ยิงเป้า และฉีดยา

 

โทษประหารชีวิตในไทยนั้น ที่จริงมีมาตั้งนานแล้วครับ และจะเป็นลักษณะของการประหารแบบ "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ใครฆ่าผู้อื่น ก็ถูกฆ่าให้ตายตกไปตามกันเลยแหละ
ตามประเพณีโบราณก่อนปี พ.ศ.2478 การประหารชีวิตจะทำด้วยการใช้มีดดาบบั่นคอ โดยมีเพชรฆาต 2 คน ค่ะ ที่มี 2 คน คือกลัวคนแรกฟันคอไม่ขาด คนที่สองก็รับหน้าที่ฟันคอนักโทษต่ออย่างทันที เพื่อจะได้ตายอย่างรวดเร็วและ ไม่ทรมาน
พอหลังจากปี 2478 แล้ว ได้มีการเปลี่ยนการประหารนักโทษจากบั่นคอ เป็นยิงเป้าแทน โดยการใช้ปืน"ยิงเป้า" หรือ "ยิงเสียให้ตาย" ในทางปฏิบัติคือ ให้ใช้"ปืนยิง" และสถานที่ยิงเป้าส่วนใหญ่จะเป็นที่"เรือนจำบางขวาง" เพราะมีพร้อมทั้งสถานที่,อุปกรณ์การยิงเป้า แถมยังจัดเพชรฆาตไว้พร้อม
ก่อนการประหารก็จะมีการดำเนินการต่างๆตามขั้นตอนทางกฎหมายค่ะ หากนักโทษหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องยื่นขอฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระมหากษัตริย์ ก็จะทุเลาการประหารชีวิตไปอีก 60 วัน นับแต่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยถวายเรื่องราวหรือคำแนะขึ้นไป แต่หากมีการยกเรื่องราวนั้นเสียก็ให้ทำการประหารก่อนกำหนดนี้ได้เลย
ในทางปฏิบัตินั้น หากได้มีการยื่นฎีกาแล้ว ต้องรอฟังพระบรมราชวินิจฉัยเสียก่อนที่จะดำเนินการขั้นต่อไป และฎีกาของนักโทษจะสามารถยื่นได้ก็เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ในการประหารชีวิตจะต้องมีคณะกรรมการดำเนินการ 1 ชุด ต้องมีการพิมพ์ลายนิ้วมือของนักโทษผู้ถูกประหารชีวิต เพื่อตรวจสอบให้ถูกต้องตามประวัติอาชญากร เลขคดี และนามผู้ต้องโทษ เพื่อป้องกันความผิดพลาด ก่อนที่นักโทษจะถูกประหาร ทางเจ้าหน้าที่จะถามความต้องการว่า ต้องการจะจัดการทรัพย์สินหรือพูดคุยกับใครหรือไม่ มีการจัดอาหารให้อย่างดี คือ ทำตามที่นักโทษขอน่ะค่ะ หากไม่เป็นการพ้นวิสัย และก็จะมีการให้โอกาสนักโทษประกอบพิธีทางศาสนาอีกด้วย
ในขั้นตอนการประหารชีวิต ก็จะนำไปยังหลักประหารซึ่งเป็นไม้ตะเคียน ที่นักโทษทำขึ้น แต่หลักประหารนี้จะต้องเปลี่ยนเสมอๆ เพราะเวลาคนเราจะถูกยิงมักจะบิดตัว บิดมือ หลบนู่นหลบนี่เสมอ เลยถูกหลักประหารแตกบ้าง หักบ้าง
การยิงเป้าจะใช้ "ปืน เอส เค เอ็น พี 5" ซึ่งนับตั้งแต่ได้เปลี่ยนจากการบั่นคอเป็นยิงเป้านั้น ได้ยิงเป้าไปแล้ว 316 ศพ ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง 3 ศพ รายสุดท้ายถูกประหารชีวิตเมื่อ 11 ธันวาคม 2545 ข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา นับเป็นรายที่ 316 ในรอบ 68 ปี และทั้ง 316 คน นั้น ถูกประหารด้วยน้ำมือของเพชรฆาตเพียง 8 คนเท่านั้น
 
สำหรับการประหารชีวิตด้วยการฉีดยาพิษนี้ เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี 12ธ.ค. 2546 ที่เรือนจำกลางบางขวาง โดยเป็นการประหารชีวิต 4 นักโทษใ นคดียาเสพติด 3 รายและคดีฆ่าคนตาย 1 ราย ซึ่งเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน โดยใช้เวลาการประหารชีวิตเพียง 25 นาที ภายใต้ประมวลกฏหมายอาญา(ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546 มาตรา 19 ที่ว่าเปลี่ยนการประหารชีวิตจากการยิงเป้ามาเป็นฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม ที่ผ่านมา
                โดยนักโทษประหารที่ว่ามี 4 รายคือ
1.นช.บุญลือ นาคประสิทธิ
2.นช.พันพงษ์ สินธุสังข์
3.นช.วิบูลย์ ปานะสุทธะ
ซึ่งนักโทษทั้ง 3 คน ต้องโทษคดียาเสพติด โดยเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2541 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้ง 3 คน ฐานร่วมกันผลิตเมตแอมเฟตามีน หรือยาบ้า จากการตรวจค้นพบอุปกรณ์การผลิต พร้อมกับยาบ้า จำนวนถึง 115,800 เม็ด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ประหารชีวิต จำเลยทั้ง 3 อุทธรณ์ขอให้ลดโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้ง 3 คน ฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืนให้ประหารชีวิตสถานเดียว



 เจ้าหน้าที่เรือนจำ ให้นักโทษประหาร โทรศัพท์สั่งเสียญาติเป็นครั้งสุดท้าย
                  
                สำหรับนักโทษคนที่ 4 คือ นช.พนม ทองช่างเหล็ก พฤติกรรมความผิด เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2542 จำเลยใช้อาวุธปืนยิงนายแสงชัย ทองเชื้อ ผู้ตายจำนวน 4 นัด ขณะนั่งรับประทานอาหารร่วมกับพวก ที่ตำบลวิชัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่ได้จับกุมและแจ้งข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้การประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาพิพากษายืน
แล้วผมก็พึ่งรู้เองว่าขั้นตอนการประหารชีวิตในไทยมันต่างกับอเมริกาอย่างไร เริ่มจากการประหารชีวิตจะถูกกำหนดในศาล และไม่มีการแจ้งล่วงหน้าให้นักโทษ พอถึงวันที่กำหนดทางเรือนจำกลางบางขวางจะเบิกตัวนักโทษ 4 คนออกมาเพื่อเขียนพินัยกรรมหรือโทรศัพท์สั่งเสียญาติซึ่งนักโทษพนม ทองช่างเหล็กโทรศัพท์ไปที่บ้านติดต่อภรรยาและลูก ส่วนคนอื่นเขียนพินัยกรรม จากนั้นนำอาหารมื้อสุดท้ายให้รับประทาน(ไม่สามารถเลือกว่าจะกินอะไรตามใจเหมือนอเมริกา) ซึ่งอาหารเช้าวันนั้นเป็นต้มข่าไก่ เขียวหวานลูกชิ้นปลากราย แกงหน่อไม้ 2 ชุด ส่วนของหวานมีบัวลอยแก้ว บัวลอยเผือก ฟักทองต้มและส้มเขียวหวาน แต่นักโทษทั้ง 4 คน รับประทานอาหารไม่ลง ขอสูบบุหรี่แทน



นักโทษประหารทั้ง 4 คนกำลังเข้าแถวเพื่อรับประทานอาหารมื้อสุดท้าย
              
                 จากนั้นเจ้าหน้าที่อ่านฎีกาและนำนักโทษทั้ง 4 คนไปฟังพระเทศน์ก่อนจะขึ้นรถส่งวิญญาณ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าที่ใช้ในสนามกอล์ฟ นำนักโทษไปสู่แดนประหาร และแวะศาลเจ้าพ่อเจตคุปต์ เพื่อให้นักโทษกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเรือนจำ จากนั้นนำมาที่ศาลาหน้าอาคารฉีดสารพิษและทำการปิดตานักโทษด้วยผ้าดำ รวมทั้งให้นักโทษถือดอกไม้ธูปเทียนไหว้ โดยหันหน้าไปทางวัดแพรกใต้ที่อยู่ติดแดนประหาร



เจ้าหน้าที่เรือนจำกำลังฉีดยาให้กับนักโทษประหาร ซึ่งใช้เวลาเพียง 25 นาที
              
              จากนั้นนำนักโทษเข้าอาคารฉีดสารพิษ โดยยังคงล่ามโซ่ตรวนไว้และให้นักโทษนอนบนเตียงประหารชีวิต ซึ่งมีผ้าขาวสำหรับห่อศพวางรองอยู่ และทำการขึงแขนนักโทษให้ติดกับเตียงทั้ง 2 ข้างในท่ากางแขน และนำเข็มฉีดยาปักไปที่ข้อมือทั้ง 2 ข้าง และทำการฉีดยาจำนวน 3 เข็ม เข็มที่ 1 คือยานอนหลับ เข็มที่ 2 เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ และเข็มที่ 3 คือยาหยุดการเต้นของหัวใจ ก่อนให้แพทย์และให้คณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนอัยการจังหวัด ผู้กำกับการสถานีตำรวจ ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้แทนกรมราชทัณฑ์มาช่วยตรวจด้วย



ยาที่ใช้ฉีดให้กับนักโทษ 3 ชนิดคือ ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาที่ทำให้ปอดหยุดทำงาน

                จากนั้นนำนักโทษที่เสียชีวิตแล้วใส่ในโรงเย็น ซึ่งมีความเย็น –18 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนจะให้แพทย์ตรวจเป็นครั้งสุดท้าย และให้ญาติรับไปบำเพ็ญกุศล ซึ่งการประหารชีวิตครั้งนี้เป็นครั้งแรกจัดเตรียมทีมประหารชีวิตไว้ 3 คน และสำรองไว้ 1 คน โดยขั้นตอนทั้งหมดสำหรับการประหารชีวิตในครั้งนี้ ใช้เวลาประมาณ 25 นาที
            โดยตายแบบไม่ทรมานมากนัก
 
credit by mthai
 

21 ก.ค. 53 เวลา 18:24 14,481 55 518
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...