ชีวิตของผู้หญิงที่ชื่อ "คิม ฟุค" สะท้อนชีวิตที่โหดร้ายภายใต้กำลังใจทีเข้มแข็ง

การบ่มเพาะความเกลียดเอาไว้สามารถฆ่าฉันได้ Saturday, 20 June 2009 06:09

ชีวิตของผู้หญิงที่ชื่อ "คิม ฟุค" สะท้อนชีวิตที่โหดร้ายภายใต้กำลังใจทีเข้มแข็ง

เธอ ชื่อ ' คิม ฟุค ' (Kim Phuc is Her Name)

แปลว่า 'ความสุขดุจทองคำ' (Golden Happiness)
เธอเกิดที่ Trang Bang ตะวันตกเฉียงเหนือกรุงไซ่ง่อนในเวียตนามใต้ เมื่อ พ.ศ.2506
เวลา บ่าย ๒ โมง วันที่ 8 มิถุนายน 2515 ระเบิดไฟนาปาล์ม 4 ลูก ถูกทิ้งลงที่บ้านเธอ

ขณะนั้น คิม ฟุค มีอายุ 9 ขวบ ระเบิดเพลิงตกใส่เธอ เธอถอดเสื้อผ้าที่ไฟกำลังลุกออกแต่ไฟยังคงไหม้บนตัวเธอ

ผู้คนช่วย ราดน้ำบนตัวเธอ เพื่อดับไฟที่กำลังลุกไหม้อยู่บนตัวเธอ จนเธอหมดสติไป

Huynh Cong (Nick) Ut ช่างภาพ ช่วยพาเธอส่งโรงพยาบาล

คอยให้กำลังใจเธอเสมอในยามที่เธอทุกข์ทรมาน
แต่เธอต้องทนทุกข์ทรมานจากบาดแผลไฟไหม้กว่าครึ่งตัว
หมอศัลยกรรมพลาสติค Dr. Mark Gorney จาก San Francisco
อาสาสมัครประจำอยู่ที่ โรงพยาบาลศัลยกรรมเด็ก Barksy ในกรุงไซ่ง่อนกล่าวว่า
"เธอไม่น่าจะอยู่รอดได้ ตอนแรกคางของเธอเชื่อมติดกับหน้าอกโดยเนื้อเยื่อจากแผลเป็นแขนซ้ายของเธอไม้จนถึงกระดูก"

แม้เธอจะรอดตายจากระเบิดนาปาล์มที่ทิ้งลงหมู่บ้านของเธอ แต่ไฟก็ได้เผาลวกผิวหนังของเธอถึง 65 เปอร์เซ็นต์เธอต้อง
รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึง 14 เดือน และผ่านการผ่าตัดถึง17 ครั้งกว่าจะหายเป็นปรกติ


เธอยังโชคดีเมื่อเทียบกับลูกพี่ลูกน้องอีก 2 คน ซึ่งตายเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว
ด้วยความรักของแม่ที่คอยดูแลอยู่ข้างเตียง เธอค่อย ๆ ฟื้นตัวและตัดสินใจว่า
โตขึ้นเธอจะเป็นหมอเหมือนผู้ที่ช่วยชีวิตเธอ
หลังจากรักษาตัวอยู่ 2 ปี เธอจึงได้กลับบ้าน

ภาพของเธอ ที่ Nick Ut ถ่ายไว้ ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกและได้รับรางวัล Pulitzer ในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2516

ด้วยรางวัลดังกล่าวช่วยเปลี่ยนชีวิตของเธอและ Nick Ut

และเวียตนามใต้ก็ถูกปกครองโดยคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2518 ชื่อของกรุงไซ่ง่อนถูกเปลี่ยนเป็นโฮจิมินห์ ก็ไม่มี
ข่าวคราวของเธอปรากฏสู่โลกภายนอกอีกเลย

แต่แล้ววันหนึ่งในปี 2539 คิม ฟุค ก็ได้มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าชาวอเมริกันซึ่งเคยผ่านสมรภูมิเวียดนาม เธอได้รับเชิญ
ให้มาพูดเนื่องในโอกาสวันทหารผ่านศึก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. การได้มาเผชิญหน้ากับกลุ่มคนซึ่งครั้งหนึ่งเคยมาทำลาย
บ้านเกิดเมืองนอนของเธอ ทำให้ญาติพี่น้องของเธอต้องตาย และเกือบฆ่าเธอให้ตายไปด้วยนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำใจ
ได้ง่ายนักแต่เธอมาก็เพื่อจะบอกให้พวกเรารู้ว่าสงครามนั้นได้ก่อความทุกข์ทรมานแก่ผู้คนอย่างไรบ้าง

หลังจากที่เล่าถึงประสบการณ์อันเจ็บปวดของเธอแล้ว เธอก็ได้เผยความในใจว่า มีเรื่องหนึ่งที่เธออยากจะบอกต่อหน้านักบิน
ที่ทิ้งระเบิดใส่หมู่บ้านของเธอ

พูดมาถึงตรงนี้ก็มีคนส่งข้อความมาบอกว่า คนที่เธอต้องการพบกำลังนั่งอยู่ในห้องประชุมนี้ เธอจึงเผยความในใจออกมาว่า

"ฉันอยากบอกเขาว่า เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้ แต่เราควรพยายามทำสิ่งดี ๆ เพื่อส่งเสริมสันติภาพทั้งใน
ปัจจุบันและอนาคต"

เมื่อเธอบรรยายเสร็จ ลงมาจากเวที อดีตนักบินที่เกือบฆ่าเธอก็มายืนอยู่เบื้องหน้าเธอ

เขามิใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นศาสนาจารย์ประจำโบสถ์แห่งหนึ่ง เขาพูดด้วยสีหน้าเจ็บปวดว่า
"ผมขอโทษ ผมขอโทษจริง ๆ"
คิมเข้าไปโอบกอดเขาแล้วตอบว่า "ไม่เป็นไร ฉันให้อภัย ฉันให้อภัย"

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะให้อภัย โดยเฉพาะกับคนที่ทำร้ายเราปางตาย คิม ฟุค
 เล่าว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความทุกข์
ทรมานแก่เธอทั้งกายและใจ จนเธอเองก็ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร แต่แล้วเธอก็พบว่าสิ่งที่ทำร้ายเธอจริง ๆ มิใช่ใครที่ไหน
หากได้แก่ความเกลียดที่ฝังแน่นในใจเธอนั่นเอง


"ฉันพบว่าการบ่มเพาะความเกลียดเอาไว้สามารถฆ่าฉันได้"

เธอพยายามสวดภาวนาและแผ่เมตตาให้ศัตรู และแก่คนที่ก่อความทุกข์ให้เธอ แล้วเธอก็พบว่า "หัวใจฉันมีความอ่อนโยนมากขึ้น เรื่อย ๆ เดี๋ยวนี้ฉันสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเกลียด"



เราไม่อาจควบคุมกำกับผู้คนให้ทำดี หรือไม่ทำชั่วกับเราได้ แต่เราสามารถควบคุมกำกับจิตใจของเราได้

เราไม่อาจเลือกได้ว่ารอบตัวเราต้องมีแต่คนน่ารักพูดจาอ่อนหวาน แต่เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำใจอย่างไรเมื่อประสบกับสิ่ง
ไม่พึงปรารถนา คิม ฟุค ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่า

"ฉันน่าจะโกรธ แต่ฉันเลือกอีกทางหนึ่ง แล้วชีวิตของฉันก็ดีขึ้น"


บทเรียนของ คิม ฟุค คือ ในเมื่อเราเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้ เราจึงไม่ควรปักใจอยู่กับอดีต แต่เราสามารถเรียนรู้จากอดีตเพื่อ
ทำปัจจุบันและอนาคตให้ดีขึ้นได้ บทเรียนจากอดีตอย่างหนึ่งที่เธอได้เรียนรู้มาก็คือ "การอยู่กับความโกรธ เกลียด
และความขมขื่นนั้น ทำให้ฉันเห็นคุณค่าของการให้อภัย"
 
12 ก.ค. 53 เวลา 16:28 4,977 7 146
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...