ซาล์ป salp..สัตว์ทะเลตัวใสช่วยดูด CO2

สัตว์ทะเลตัวใสช่วยดูด CO2 

 

ซิดนีย์ : ความพยายามหาทางลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อลดภาวะโลกร้อนนั้น 
นักวิจัยได้คิดหาวิธีธรรมชาติมาใช้ด้วย ซึ่งนอกเหนือจากให้ป่าไม้ช่วยดูดซับก๊าซดังกล่าวแล้ว
ยังใช้สิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างตัวซาล์ป (salp) สัตว์ทะเลตัวใสแจ๋วคล้ายแมงกะพรุนด้วย 

โดยขณะนี้ทีมวิจัยของดร.มาร์ก เบียร์ด นักวิจัยในโครงการสำรวจทางทะเลขององค์การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์
และอุตสาหกรรม แห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ในออสเตรเลีย 
กำลังศึกษาซาล์ปนอกชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย 
และเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของกลไกต่อสู้ภาวะโลกร้อนได้

 

 

ซาล์ปเป็นสัตว์ตัวโปร่งใส มีตัวยาว 1-10 เซนติเมตร ลักษณะกลม ตรงกลางป่อง 
และมักต่อเป็นลูกโซ่เคลื่อนตัวตามกระแสน้ำ กินพืชน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น สาหร่ายกลุ่มไฟโตแพลงตอน 
ซึ่งพืชเหล่านี้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญอย่างหนึ่งจากบรรยากาศโลกจนถึง-
บริเวณพื้นผิวมหาสมุทร มักพบในเขตน่านน้ำต่างๆ ของออสเตรเลียตามฤดูกาล
แต่หลังจากนักวิจัยทีมดร.เบียร์ดเริ่มศึกษาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาพบว่า 
ซาล์ปขยายตัวเพิ่มขึ้นในเขตน่านน้ำรอบเมืองซิดนีย์ หรือเพิ่มขึ้นกว่า
เมื่อครั้งที่มีการสำรวจครั้งแรกช่วง 70 ปีก่อนถึง 10 เท่าตัว เชื่อว่าเป็นเพราะกระแสน้ำทางตะวันออกแรงขึ้น 
ทำให้นำธาตุอาหารต่างๆ ที่เป็นอาหารของสาหร่ายมาสะสมบริเวณพื้นผิวน้ำเพิ่มขึ้น 
เมื่อสาหร่ายเติบโตซาล์ปที่กินสาหร่ายจึงขยายตัวตาม

ดร.เบียร์ดชี้ว่า สิ่งที่น่าสนใจคือซาล์ปสามารถเปลี่ยนสาหร่าย และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นมูล
ตกลงสู่ก้นมหาสมุทร จึงช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 
เช่นเดียวกับซากของมัน ที่จะดึงเอาก๊าซคาร์บอนลงไปก้นทะเลด้วยหลังตายไป 
ซึ่งวงจรชีวิตของสัตว์ชนิดนี้สั้นเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น 

การดึงคาร์บอนในลักษณะดังกล่าว
คล้ายกับแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ที่จะฝังก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าต่างๆ ไว้ใต้ทะเลนั่นเอง

นอกจากนี้ในการศึกษาซาล์ปในน่านน้ำออสเตรเลียยังพบว่า 
มันมีลักษณะทางชีววิทยาคล้ายสัตว์มีกระดูกสันหลังเช่นมนุษย์ มากกว่าแมงกะพรุน 
โดยมีส่วนของระบบประสาทแรกเริ่ม อีกทั้งเป็นสัตว์ที่แพร่พันธุ์ได้เร็วที่สุดในโลก

 







 




   

10 ก.ค. 53 เวลา 12:35 19,562 5 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...