ตั๋วเมือง .. Lanna Language

ตั๋วเมือง (Lanna Language)


.


โดย จรีย์ สุนทรสิงห์


—————————————


“อักษรแห่งภาษาแม่ของชาวล้านนา

เป็นมรดกอันล้ำค่าทางอักษรศาสตร์ เป็นศาสตร์อันสูงสุดของชาวล้านนา“


ความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งแห่งชนชาติและเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติ คือการที่มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง

การ เรียนรู้ที่จะพูด – เขียน
รวมถึงการทำความเข้าใจในความลึกซึ้งของภาษาไม่ใช่เรื่อง่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษากวี
หรือภาษาที่ใช้ในการประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง


ล้านนา คือดินแดนภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ๘ จังหวัด
ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน
มีภาษาล้านนาเป็นภาษาของตนเอง ใช้ในการพูดและเขียนมาแต่อดีตนับหลายร้อยปี


ภาษาล้านนา หมายรวมทั้ง ภาษาเขียน (ตั๋วเมือง)
และภาษาพูด (กำเมือง) นอกจากจะใช้ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือแล้ว
ยังมีผู้ใช้ภาษาล้านนาในบางท้องที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย
สระบุรี ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น นครเชียงตุง (เมียนม่าร์) สิบสองปันนา
(จีน) และอีกหลายแห่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
แม้จะมีสำเนียงพูดผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ตัวอักษรแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย
แต่ก็สามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะภาษาเขียนที่ใช้ในนครเชียงตุง ที่เรียกว่า ตั๋วขึน
ทั้งลักษณะของตัวอักษร และอักขรวิธีเหมือนกับ ตั๋วเมือง
ที่ใช้ในภาคเหนือของไทย อักษรล้านนา (ตั๋ว เมือง)
ถือได้ว่าเป็นอักษรแห่งภาษาแม่ของชาวล้านนา
เป็นมรดกอันล้ำค่าทางอักษรศาสตร์ เป็นศาสตร์อันสูงสุดของชาวล้านนา
เป็นภูมิปัญญาของนักปราชญ์ชาวล้านนา เป็นอักษรแห่งมนต์ขลัง
ถือกันมาว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ควรแก่การรับรองพระพุทธพจน์
จึงเป็นอักษรที่ใช้เกี่ยวกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
ใช้ในการจารพระไตรปิฎก คัมภีร์ใบลาน ธรรมชาดก บทสวดมนต์ พงศาวดาร ตำนาน
ศิลาจารึก โหราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำรายาสมุนไพร วรรณกรรมล้านนา
ตลอดถึงคติ คำสอนต่างๆ และที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่ง คือตำราไสยศาสตร์
เลขยันต์ คาถาเวทย์มนต์ต่างๆ ที่คนล้านนาถือว่าขลังมาแต่โบราณกาล

อักษรดังกล่าวสามารถจัดเรียงเข้าตามแบบพยัญชนะวรรคได้ ดังนี้




ชาวล้านนาถือว่า “ตั๋วเมือง” เป็นของสูง
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันมีค่าสูงยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น พับสา คัมภีร์ใบลาน สมุด
ข่อย แม้แต่กระดาษที่เขียนด้วยตั๋วเมือง จะต้องเก็บไว้ในที่อันควร เช่น
บนโต๊ะ บนหิ้ง บนหัวนอน จะไม่มีการทิ้งเรี่ยราด
ไม่มีการเหยียบหรือเดินข้ามเป็นอันขาด
แม้ว่าตั๋วเมืองจะเสื่อมลงในระยะที่อาณาจักรล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า
เกือบ ๒๐๐ ปี (ราว พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๒๐)
กอปรกับในเวลาต่อมาเมื่ออาณาจักรล้านนาพ้นจากการปกครองของพม่าแล้ว
ล้านนาก็ต้องตกเป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์
ต้องการให้สยามประเทศเป็นหนึ่งเดียวในด้านภาษา
จึงไม่สนับสนุนให้เรียนตั๋วเมือง ให้ใช้ภาษาไทยกลางเป็นสื่อ
ไม่อนุญาตให้มีการสอนตั๋วเมืองในโรงเรียน
คงมีสอนเฉพาะในวัดสำหรับผู้จะบวชเป็นภิกษุสามเณรเท่านั้น
ผู้หญิงหรือผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าเป็นศิษย์วัด (ขะโยม)
เพื่อเตรียมบรรพชาอุปสมบทจึงไม่มีโอกาสได้เรียนตั๋วเมือง ในระยะหลังๆ
ต่อมาแม้ในวัดก็ไม่มีการสอนตั๋วเมืองอีกเช่นกัน
ทำให้ชาวล้านนาไม่รู้จักตั๋วเมือง อ่านตั๋วเมืองไม่ออก ทั้งๆ
ที่เป็นภาษาที่บรรพชนนักปราชญ์ล้านนาคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นด้วยภูมิปัญญาอันสูง
ส่ง


การเรียนภาษาล้านนาไม่ใช่ของยากสำหรับผู้มีความตั้งใจ
เพราะอักขรวิธีของภาษาล้านนา มีโครงสร้างเหมือนภาษาไทยกลาง
เพียงแต่จดจำรูปแบบของพยัญชนะ สระ และความแตกต่างที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย
ท่านก็สามารถอ่านและเขียนภาษาล้านนาได้เป็นอย่างดีในเวลาไม่เกินครึ่งเดือน


ในปัจจุบันคณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการส่งเสริม สนับสนุน
วัฒนธรรมท้องถิ่นในทุกๆ ด้าน ภาษาล้านนา (ตั๋วเมือง)
ซึ่งถือว่าเป็นวัฒนธรรมอันสูงค่าทางด้านภาษาของชาวล้านนา
ผู้ที่เป็นคนล้านนาควรจะมีจิตสำนึกหวงแหนในภูมิปัญญานี้
เกิดเป็นคนล้านนาควรจะอ่านและพูดภาษาของตนเองได้


เพื่อสืบสานจรรโลงมิให้อักษรล้านนาจางหายไปตามกาลเวลา.

 
















 

8 ก.ค. 53 เวลา 21:16 7,347 4 46
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...