องค์กรอนามัยโลก ขึ้นบัญชี 12 ซุปเปอร์บัก ต่อไปนี้ให้เป็นภัยต่อมนุษย์โลกมากที่สุด!! ทุกคนโปรดระวัง!

read:https://knowledge.jarm.com/view/80588

องค์กรอนามัยโลก (WHO) เผยรายชื่อ แบคทีเรียชนิดดื้อยา หรือ "ซุปเปอร์บัก" ที่เป็นอันตรายต่อโลกมากที่สุด เพื่อส่งสัญญานเตือนภัยและกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนายาปฏิชีวนะ

1. เชื้ออซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอ (Acinetobacter baumannii) ชนิดดื้อยาในกลุ่ม คาร์บาเพเนม (Acinetobacter baumannii, carbapenem-resistant) เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative bacteria) ที่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต (Aerobe)  สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในปอด, กระเพาะปัสสาวะ, ผิวหนัง, กระแสเลือดและอื่น ๆ จากการปนเปื้อนเชื้อที่มาจากผู้ป่วย, บุคลากร, เครื่องมือทางการแพทย์, หรือสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล

2. เชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจีโนซา (Pseudomonas aeruginosa) ดื้อยาในกลุ่ม คาร์บาเพเนม (Pseudomonas aeruginosa, carbapenem-resistant)  เป็นแบคทีเรีย ที่ก่อโรคในสัตว์ รวมทั้งคน พบได้ในดิน น้ำ ผิวหนังและในสภาพแวดล้อมอื่นๆอยู่ได้ทั้งในสภาพแวดล้อมปกติและสภาพออกซิเจนต่ำ ใช้สารอินทรีย์เป็นแหล่งคาร์บอนได้หลายชนิด ในสัตว์ จะเข้าทำลายเนื้อเยื่อที่มีภูมิคุ้มกันต่ำลง

3. เชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอร์โรแบคทีเรียซีอี (Enterobacteriaceae) ดื้อยาในกลุ่ม คาร์บาเพเนม และสร้างเอนไวม์ดื้อยา ESBL ( carbapenem-resistant, ESBL-producing) ก่อให้เกิดอาการท้องร่วง อาหารเป็นพิษ และปอดอักเสบ

กลุ่มลำดับที่ 2 - ‘ขั้นสูง’

1. เชื้อ เอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม  (Enterococcus faecium) ดื้อยา แวนโคมัยซิน (Enterococcus faecium, vancomycin-resistant) ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ บาดแผล และเนื้อเยื่ออ่อน

2. เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ชนิดดื้อยา methicillin และ vancomycin  เป็นแบคทีเรียชนิด facultative anaerobic แกรมบวก รูปกลม เป็นส่วนหนึ่งของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อประจำถิ่นในผิวหนังและโพรงจมูก  เป็นแบคทีเรียก่อโรคชนิดหนึ่ง เมื่อ S. aureus ปนเปื้อนลงไปในอาหาร จะสร้างสารพิษที่เรียกว่าเอนเทอโรทอกซินขึ้น สารพิษนี้ทนต่อความร้อนได้ดีมาก ทำให้ผู้บริโภคเกิดอาหารเป็นพิษ หลังจากรับประทานอาหารที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนเข้าไปประมาณ 1-6 ชั่วโมง อาการของโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจาก S. aureus คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้องจากสารพิษ อาการมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนมากไม่มีไข้ ในรายรุนแรงอาจช็อคได้

3. เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ชนิดดื้อยา clarithromycin เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำท่วมขังก่อให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคมะเร้งในกระเพาะอาหาร

4. เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) ชนิดดื้อยา fluoroquinolone เป็นอีกหนึ่งชนิดที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ

5.เชื้อแบคทีเรียสกุลซัลโมเนลลา (Salmonellae) ชนิดดื้อยา fluoroquinolone  เป็นแบคทีเรียแกรมลบรูปท่อน ไม่สร้างสปอร์ที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อยที่สุด และจำนวนแบคทีเรียชนิดนี้ในอาหารเพียงเล็กน้อยทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ สามารถเติบโตได้ที่อุณหภูมิในขอบเขตระหว่าง 8-45 องศาเซลเซียส ในอาหารที่มีความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 4-9 อาหารที่มาจากสัตว์เช่นเนื้อสัตว์ดิบ/ปรุงไม่สุก หรือซากเป็ดไก่ ไข่ดิบ ผลิตภัณฑ์ที่มีไข่ดิบ นมดิบหรือนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ และผลิตภัณฑ์จากนมเช่น เนย ไอศกรีม เนยแข็งและผักบางชนิด สามารถนำเชื้อก่อโรค Salmonella จากสัตว์มาสู่คนได้ การใช้น้ำที่สกปรกทางการเกษตรหรือใช้ล้างอาหารสดทำให้เกิดการปนเปื้อนได้เช่นกัน

6. เชื้อไนซีเรีย โกโนเรียอี (Neisseria gonorrhoeae) ชนิดดื้อยา ephalosporin และ fluoroquinolone ก่อให้เกิดโรคหนองใน และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

กลุ่มลำดับที่ 3 - ‘ขั้นปานกลาง’

1. สเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) ไม่ตอบสนองต่อยา  penicillin ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ

2. ฮีโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซาอี (Haemophilus influenzae) ชนิดดื้อยา ampicillin เป็นแบคทีเรียแกรมลบ  สาเหตุที่่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่

3. เชื้อสกุลชิเกลลา (Shigella spp) ชนิดดื้อยา fluoroquinolone เป็นสาเหตุให้เกิดโรคบิดชิเกลลา หรือโรคบิดไม่มีตัว ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง

ขอบคุณข้อมุลจาก washingtonpost, Wiki Common

10 มี.ค. 60 เวลา 03:59 2,172
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...