[ข่าวประชาสัมพันธ์] dtac Smart Farmer เทรนด์ฮิตของเกษตรกรรุ่นใหม่

dtac Smart Farmer เทรนด์ฮิตของเกษตรกรรุ่นใหม่

 

หนึ่งในเทรนด์ใหม่ของโลกวันนี้ มีผู้สนใจอยากทำการเกษตรเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นกระแสสวนทางกับยุคที่ผ่านมา ซึ่งน้อยคน โดยเฉพาะผู้มีพื้นฐานด้านเกษตรกรรมอยากกลับไปทำเพื่อสืบทอดอาชีพของครอบครัว

องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสนใจเรื่องการพัฒนาด้านการเกษตร หนึ่งในนั้นคือ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer โดยได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จัดประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 แล้ว

การประกวดในปีนี้อยู่ภายใต้แนวคิดการเกษตรครบวงจรคือ การจัดการพื้นที่เพาะปลูก เพิ่มจำนวนและคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุน เวลา ทรัพยากร ไปสู่การจัดจำหน่ายถึงมือผู้บริโภค หรือที่เรียกว่า จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ

 

จากใจผู้ชนะ – อายุ จือปา ‘กาแฟของผม ช่วยเหลือชุมชนให้มีโอกาสได้พัฒนาตัวเอง มีรายได้ให้ลูกได้ไปเรียนหนังสือ เมื่อลูกหลานมีการศึกษาที่ดี ก็กลับมาพัฒนาชุมชน’

“การกลับมาทำอาชีพเกษตรที่บ้านหลังจากเรียนจบคือคำมั่นสัญญาที่ผมให้ไว้กับตัวเอง แต่พ่อแม่ถึงกับกุมขมับ เพราะเขาอยากให้เราทำงานมั่นคง มีตำแหน่งสูงๆ เป็นเศรษฐี” คือคำพูดของอายุ ชาวเขาเผ่าอาข่า ผู้ชนะรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2559 ที่ทำเกษตรแบบ ‘ครบวงจร’ คือ ปลูก พัฒนาสายพันธุ์ เก็บ คั่ว แพ็ค จำหน่าย ส่งออก มีร้าน และแล็บชิมกาแฟ

“เมื่อก่อนเราปลูกทั้งผักผลไม้เมืองหนาว ชา และกาแฟ ที่ชาวบ้านมีความคิดว่า เขามีความรู้ในการพัฒนาแม้จะถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางแค่ไหน ก็ยังมีความภูมิใจที่ได้ปลูกเพราะเป็นพันธุ์ที่ได้รับพระราชทานผ่านโครงการหลวงเกษตรที่สูง พอผมเข้ามาทำ ราคาเพิ่มจากกิโลกรัมละ 20 กว่าบาท เป็น 100 กว่าบาท จึงเริ่มทำแผนธุรกิจ โดยนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติ ที่ทรงเน้นย้ำมากๆ คือ การดูแลเมล็ดพันธุ์ แบ่งปัน เผื่อแผ่ ก่อนการก้าวไปสู่การเป็นพืชเศรษฐกิจ จึงนำมาต่อยอดโดยการคั่วแล้วขาย ในปีที่สองเริ่มขยายไปสู่ชุมชน ซึ่งชาวบ้านปลูกกาแฟเท่าเดิม แต่มีรายได้เพิ่มขึ้น ผมเปิดร้านกาแฟ โดยรับกาแฟมาจากชุมชนต่างๆ ทำแพคเกจจิ้งโดยมีรูปของคนปลูกอยู่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นอย่างชัดเจน”

 

 

 

รองชนะเลิศอันดับ 1 – พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ ‘การทำฟาร์มที่มหาสารคามจนประสบความสำเร็จ  สามารถเปลี่ยนทัศนคติของพ่อแม่และชาวบ้านที่เคยมองว่าอาชีพเกษตรมีแต่เจ็บและจนได้’

บัณฑิตจากคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม้โจ้กล่าวว่า “ผมหันมาทำอาชีพเกษตรเพราะนึกว่า หากคนรุ่นใหม่ละทิ้งอาชีพดั้งเดิมของประเทศเพราะกลัวลำบาก ใครจะเป็นผู้ผลิตอาหาร เมื่อเรียนจบและกลับมาทำฟาร์ม พ่อแม่ก็ไม่เห็นด้วย ชาวบ้านในชุมชนก็มองว่าเป็นคนบ้าที่จบมหาวิทยาลัยแล้วมาลำบากทำการเกษตร ”

เขาน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติจนเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม นำประสบการณ์ที่ได้รับครั้งเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนทีอิสราเอลซึ่งมีลักษณะเพาะปลูกยากมาใช้ ปรับสภาพดิน ทำปุ๋ยหมักบนพื้นดินที่จะเพาะปลูก บริหารจัดการน้ำ โดยการพักน้ำในบ่อ ปลูกผักตบชวาและหญ้าแฝก เลี้ยงปลาในบ่อ เลี้ยงไก่เหนือบ่อ และทำกังหันชัยพัฒนาเพื่อเพิ่มออกซิเจน

“มีคนอยากมาร่วมเครือข่ายถึง 50 หลังคาเรือน ต้องคัดเหลือ 20 ไม่ให้เกิดปัญหาคนล้นงาน ผมจึง่ทำเรื่องขอพื้นที่ 5 ไร่จากกรมพัฒนาที่ดินและกรมป่าไม้ มาเปิดเป็นฟาร์มผักออร์แกนิกส์ ให้ชาวบ้านรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน 50% ส่งขายเดอะมอลล์และ แม็กซ์แวลู 30% ส่งร้านอาหาร และ 20% เก็บไว้บริโภคและขายในชุมชน ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีเพราะเป็นผักปลอดสารพิษ”

เคล็ดลับความสำเร็จ: บริหารจัดการพื้นที่ แรงงาน ทุน – แปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค – วางแผนในเชิงธุรกิจการตลาด 

น่ายินดีที่เกษตรกรรุ่นใหม่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม มีการคิดและวางแผนมากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ลดความเสียหายและหาทางสร้างคุณค่าให้กับผลผลิตเพื่อนำมาเป็นจุดขายที่แตกต่าง

ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จะร่วมเดินหน้าพัฒนาเกษตรกร และระบบการผลิตทางเกษตรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน จำหน่ายได้ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...