นักฟิสิกส์พลิกโลก “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” กับ 14 ภาพถ่ายที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยเห็น!

http://www.meekhao.com/news/14-rare-photos-of-einstein

ผ่านมาเป็นเวลา 100 ปีแล้วสำหรับ “ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป” ของนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” หอจดหมายเหตุไอน์สไตน์และสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันจึงทำการเผยแพร่ภาพถ่ายของเขาเพื่อเป็นการระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของชายผู้นี้

นอกจากจะหาชมได้ยากแล้ว ภาพถ่าย 14 ใบต่อไปนี้ยังแสดงให้เห็นชีวิตแต่ละด้านของนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ ซึ่งมีทั้งความพิเศษและชีวิตที่เหมือนกับคนธรรมดาทั่วไป

อัลเบิร์ตและภรรยาของเขา “เอลซา” ถ่ายที่แกรนด์แคนยอนในปี 1931

25 พฤศจิกายน 1915 ไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์ทฤษฎีที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองจนโด่งดังไปทั่วโลกกับวารสาร Annalen der Physik 

ไอน์สไตน์กับฟริตซ์ ฮาเบอร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมี

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นสิ่งที่แตกต่างและแปลกใหม่มากในยุคนั้น “ถ้าผมเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วหรือเข้าไปใกล้กับวัตถุหนักๆ อย่างโลก เวลาจะเคลื่อนช้าลงสำหรับผม”

ไอน์สไตน์ถ่ายภาพร่วมกับ Pieter Zeeman (ซ้าย) ในห้องปฏิบัติการของซีแมน กรุงอัมสเตอร์ดัม ปี 1920

“ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ” ถูกตีพิมพ์ 10 ปีก่อนหน้านั้น

ภาพนี้ถ่ายขณะที่เขากำลังปิกนิกกับเพื่อนในป่าใกล้กับออสโล เมืองหลวงของประเทศนอร์เวย์ ในปี 1920

ไม่นานก่อนที่จะเกิดสงครามโลก Arthur Eddington นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้จัดตั้งทีมวิจัยขึ้นมาเพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฏีของไอน์สไตน์นั้นถูกต้อง 

ไอน์สไตน์ถ่ายภาพร่วมกับ Arthur Eddington (ขวา) และ Hendrik Lorentz (กลาง) ในช่วงต้นทศวรรษ 1920

ไอน์สไตน์และเอลซา ภรรยาของเขา ภาพนี้ถ่ายบนเรือ SS Kitano Maru ระหว่างทั้งคู่เดินทางไปพักผ่อนที่ตะวันออกไกลในปี 1922

นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันผู้บุกเบิกการศึกษาทฤษฎีควอนตัม “มักซ์ พลังค์” มอบเหรียญรางวัลให้กับไอน์สไตน์ในปี 1929 

ไอน์สไตน์เดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี 1933

ภาพนี้ถ่ายบนเรือ SS Deutschland ในปี 1931

เขาหนีออกจากบ้านเกิดของตัวเองในช่วงที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจ

ไอน์สไตน์เดินทางไปอังกฤษและได้ถ่ายภาพร่วมกับวินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในบ้านเกิดของเชอร์ชิลที่ Chartwell

เนื่องจากเป็นชาวยิว ชีวิตของเขาไม่ปลอดภัยถ้ายังอาศัยอยู่ในเยอรมนี

ไอน์สไตน์ถ่ายภาพนี้ในบ้านของเขาที่พรินซ์ตันร่วมกับเด็กๆ ผู้อพยพชาวยิวในปี 1941

เขาใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในสหรัฐฯ และเตือนรัฐบาลสหรัฐฯ ว่านาซีมีแผนการที่จะสร้างระเบิดปรมาณู

เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิด “โครงการแมนฮัตตัน” เพื่อสร้างระเบิดนิวเคลียร์ที่ทำลายเมืองฮิโระชิมะและนะงะซะกิ แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้เป็นผู้ร่วมปฏิบัติการแม้ว่าการคิดค้นของเขาจะเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างระเบิดปรมาณูก็ตาม

หลังสงครามเสร็จสิ้น ไอน์สไตน์ออกมาแสดงความเสียใจที่การคิดค้นของเขากลายเป็นจุดกำเนิดของระเบิดปรมาณู เขาให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Newsweek ว่า “ถ้าผมรู้ว่าเยอรมันจะพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ไม่สำเร็จ ผมจะไม่ลงมือทำอะไรเลย”

ภาพนี้มาจากเทปรายการ Today with Mrs Roosevelt ในปี 1950

ในปี 1952 ไอน์สไตน์ถูกเสนอให้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีประเทศอิสราเอล

ไอน์สไตน์ให้การสนับสนุนชาวยิวทั่วโลกเสมอ จนกระทั่ง David Ben-Gurion นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลเสนอตำแหน่งประธานาธิบดีให้กับเขา แต่ไอน์สไตน์ปฏิเสธเนื่องจากคิดว่าเขาคงไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ดีพอ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าน่าอายและเสียใจมากที่ไม่อาจรับข้อเสนอ

เขาใช้เวลา 22 ปีสุดท้ายในชีวิตอยู่ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา

ไอน์สไตน์เดินทางมาเยือนพรินซ์ตันครั้งแรกในปี 1921 และหลังจากได้เป็นสมาชิกตลอดชีพของ Institute for Advanced Study ในปี 1933 เขาก็ไม่เคยคิดจะย้ายออกไปจากพรินซ์ตันอีกเลย

ที่มา https://www.buzzfeed.com/tomchivers/14-rare-photos-of-albert-einstein-that-youve-probably-never

 

#ภาพถ่าย
THEPOco
Production Manager
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
20 พ.ย. 59 เวลา 02:52 1,666
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...