รู้ไหม? จอดรถนอน ตำรวจไม่มีสิทธิ์ ขอตรวจแอลกอฮอล์

 

เป็นเจ้าหน้าที่จะทำอะไรก็ต้องดูกฎหมายให้ดีก่อนนะครับ คนเค้านอนในรถ อยู่ๆ จะไปขอตรวจแอลกอฮอล์ มันเป็นการรบกวนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้

มาดูข้อกฎหมายกันว่า ทำไมตำรวจไม่มีสิทธิขอตรวจแอลกอฮอล์คนที่นอนในรถ

การสั่งให้มีการทดสอบแอลกอฮอล์ จะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 142 ซึ่งมีหลักว่า เจ้าหน้าที่มีอำนาจ “สั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถ” ในเมื่อเห็นว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนกฎหมายเมาแล้วขับ

สังเกตคำว่า “สั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถ” กฎหมายใช้คำนี้เพราะมีเจตนาที่จะทดสอบคนในขณะที่ขับรถอยู่ แต่ไม่สามารถจะมาตรวจแอลกอฮอล์กับคนที่เมาแล้วนอนอยู่ในรถได้

ถึงแม้วรรคสองจะระบุว่าเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้มีการทดสอบ แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่มีการสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถ ไม่ใช่กรณีที่นอนอยู่ในรถ

หรือในมาตรา 43 ตรี กฎหมายฉบับเดียวกัน ก็ยังระบุว่า ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาแล้วขับ เจ้าหน้าที่มีอำนาจ "สั่งให้ผู้นั้นหยุดรถ" และสั่งให้มีการทดสอบ ซึ่งเป็นการรับรองว่า จะต้องเป็นกรณีที่เรียกให้ทดสอบในขณะที่พบเห็นกำลังขับรถ

เห็นมั้ยว่า กฎหมายเค้าใช้คำว่า สั่งให้หยุดรถ ซึ่งแปลว่า จะต้องมีการขับรถอยู่ ไม่ใช่นอนอยู่ในรถ แต่ไม่ได้หมายถึงกรณีที่เห็นด่านตรวจแล้วจอดรถนอนนะ คนละกรณีกันครับ

ดังนั้น กรณีที่นอนอยู่ในรถ เจ้าหน้าที่จะเรียกไปทดสอบแอลกอฮอล์ ย่อมไม่ถูกต้อง

เพจ กฎหมายอาสา แหล่งความรู้เพื่อประชาชนเพื่อความยุติธรรม

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ

(2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น

มาตรา 43 ตรี ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (2) ผู้ตรวจการมีอํานาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดรถและสั่งให้มีการทดสอบตามมาตรา 142 ด้วย

มาตรา 142 เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ

(2) เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ

ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา 43 (2) ให้เจ้า พนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวหย่อน

ความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่

https://www.facebook.com/ceclip/videos/vb.221317851322226/2077333542387305/?type=2&theater

ขอบคุณที่มา: กฏหมายอาสา

https://www.facebook.com/lawofthai/photos/a.1694608410771798.1073741828.1683409001891739/1809789495920355/?type=3&theater

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...