ตามรอยเรื่องจริง... ?คนเลี้ยงผี? พิธีกรรม ความเชื่อชาวมอญ

" รำผีมอญ " หรือที่เรียกกันว่า ไทยเชื้อสายมอญ อาศัยอยู่กระจัดกระจายตามจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย เช่น นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และราชบุรี เป็นต้น คนมอญเหล่านี้ นับถือพุทธศาสนา นิกายเถรวาท และยังยึดถือระบบความเชื่อ ในเรื่องผีเรือนหรือผีบรรพบุรุษ ดังนั้นจึงยังมีการประกอบพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องกับผีอยู่ เช่น พิธีรำผี เป็นต้น

 

    พิธีรำผี ถือเป็นพิธีกรรมทางครอบครัว มีสาเหตุมาจากการผิดผี คือ เมื่อมีคนเข้ามาพักที่บ้าน และเจ้าของบ้านเกิดเจ็บป่วย ในระหว่างนั้น ถือว่าผีโกรธเจ้าของเรือน ต้องทำการบนบานศาล กล่าว โดยเอาน้ำมารดที่เสาเอก และกล่าวอโหสิกรรมต่อผี รวมทั้งจัดพิธีเลี้ยงผีด้วย คือ

 

- พิธีเลี้ยงผีแบบธรรมดา คือ จัดเลี้ยงตามปกติ

- พิธีกินทั้งยืน หรือพิธีรำ โดยขณะที่ยืนรำจะหยิบอาหารกินไปด้วย

 

และสาเหตุอีกประการหนึ่ง คือ ถ้าครอบครัวใด ไม่มีลูกชายเป็นผู้รักษาผีเรือน ก็ถือว่าหมดผีไปจากตระกูล ต้องทำการถอนเสาเอกออกจากเรือน และทำพิธีกินทั้งยืน หรือพิธีรำผี เท่ากับเป็นการเชิญผีเรือน ให้ไปอยู่ศาล ซึ่งเตรียมไว้ให้บริเวณบ้านหลังนั้น..

 

 

   สำหรับการจัดพิธีรำมอญ มักจะมีขึ้นในเดือนคู่ ยกเว้นวันพระ และวันเข้าพรรษา และถ้าครอบครัวใด ได้จัดงานพิธีใดก็ตามขึ้นมาแล้ว ในปีนั้นจะไม่สามารถจัดพิธีรำผีได้ โดยก่อนวันทำพิธี 1 วัน ต้องเตรียมอาหารสำหรับใช้ในพิธี เช่น ข้าวเหนียว, หัวหมู, ขนมต้ม, ข้าวขนมกล้วย, แป้งคลุกน้ำตาลทอด, กล้วยน้ำว้า และมะพร้าวอ่อน เป็นต้น เพื่อเลี้ยงญาติพี่น้องหรือแขกที่เชิญมา วันทำพิธี เริ่มตั้งแต่ 9 นาฬิกา มีการตั้งผีเรือน หรือโรงพิธีชั่วคราว ทำด้วยไม้ไผ่จักตอก สานทำเป็นหลังคา มีแท่นวางเครื่องเซ่น หรือเครื่องบูชา มีเสาสูงแขวนเสื้อและหมวก หน้าเรือนผีมีต้นหว้า ซึ่งชาวมอญเชื่อว่ามีผีอยู่ ปกติจะสร้างในบริเวณบ้าน แต่สำหรับงานนี้ จัดขึ้นที่ลานกว้าง ภายในวัดคงคาราม และมีหญิงชราทำหน้าที่หมอผีให้อยู่ในเรือนพิธีหน้าแท่นเครื่องบูชา

 

   เครื่องบูชาหรือเครื่องเซ่น ทำเป็นบายศรีใส่อาหารต่างๆ เช่น ข้าวตอก หัวหมู และผลไม้ต่างๆ เป็นต้น จากนั้นผู้เป็นลูกหลาน จะถือผ้าผีซึ่งเป็นผ้าผืนยาว ที่ผูกห้อยลงมาจากหลังคาเรือนผี ชูไว้เหนือศีรษะ หมอผีเอาเหล้าวนที่เครื่องเซ่น แล้วพูดเบาๆ มีดนตรีบรรเลงเป็นระยะๆ หลังจากนั้น หมอผีใช้เชือก พันรอบต้นกล้วย 3 ครั้ง ผู้เป็นลูกหลานช่วยกันเฉือนโคนต้น กล้วย แล้วทาขมิ้นที่หัวต้นกล้วย และใช้ดาบสับ วางใบตองตรงที่ดาบฟันต้นกล้วยลงไป นอกจากนั้นยังวางขนม ข้าวตอก กล้วยน้ำว้าลงบนสันดาบ หลังจากนั้น นำเหล้าขาวมาวนแล้วพ่น เมื่อเสร็จแล้วนำของวางบนสันดาบ ไปวางยังแท่นเครื่องเซ่นใต้ชายคาเรือนผี ผู้ร่วมพิธีฟันกล้วยออกเป็น 9 ท่อน หมอผีแจกข้าวตอกไว้ให้สำหรับปา 9 ครั้ง ขณะที่หมอผีรำ ต่อจากนั้นมีการรำหน้าเรือนผี

 

   ในตอนสายลูกสาวคนโตของครอบครัว จะอาบน้ำแต่งตัวหน้าเรือนผี โดยนั่งเหยียดขาบนในตอง ที่รองอยู่กับไม้กระดาน 1 แผ่น หมอผีจะเทน้ำปนขมิ้น ให้ผู้อาบล้างหน้าก่อน แล้วจึงให้พี่น้องร่วมตระกูล มารองน้ำเพื่อล้างหน้า แล้วใช้น้ำที่เหลือ รดผู้อาบจากลำตัวถึงขา 3 ครั้ง เมื่อ แต่งตัวแล้ว ต้องให้หมอผีแต่งตัวให้อีกครั้งหนึ่งบนเรือนผี โดยนำผ้ามานุ่งทับผ้าผืนที่นุ่งอยู่เดิม มีผ้าพาดไหล่ ผ้าคาดเอว และผ้าคลุมศีรษะ เป็นต้น จากนั้นจุดธูป..

 

   เทียน หมอผีและผู้ร่วมพิธี ยืนรำถือช่อใบไม้และถือดาบ แล้วนั่งรำกับพื้น โดยถือช่อใบไม้ บ้องไม้ไผ่ ดาบ พานใส่อาหาร โดยที่หมอผีเป็นผู้หยิบให้ เมื่อดนตรีหยุดก็หยุดรำ
หลังจากนั้นจุดเทียน 6 เล่ม โดยหมอผีวางพานเทียนบนแท่นเครื่องบูชา ดนตรีเริ่มบรรเลงอีกครั้ง หมอผีวนพานเทียนรอบแท่นบูชา แล้ววางบนศีรษะ ประมาณ 3 ครั้ง หลังจากนั้นประคองพาน และผ้าผียกขึ้นลงสลับกันหลายๆ ครั้ง แล้ววางพานที่แท่น นำพานบายศรีมารำประคองท่าเดิมอีก แล้วจึงวางพานไว้ที่แท่นตามเดิม จากนั้นเป็นการรำด้วยท่ายืน มือถือช่อใบไม้ บ้องไม้ไผ่ ผ้าคาดเอว แล้วเริ่มรำแบบยืน โดยประคองผ้าผี ที่มีอาหารอยู่ แล้วรำท่าพาดดาบไว้บนบ่า รำ บ้องไม้ไผ่ขนาดสั้น โดยกระทุ้งหลังคาเรือนเบาๆ เสร็จแล้วเริ่มรำอีกด้วยการยกพานอาหาร ยกหม้อทราย ก็เป็นอันเสร็จพิธีของผู้รำ ที่เป็นลูกสาวคนโต

 

    หลังจากนั้น จะห่ออาหารวางไว้บนแท่น หมอผีรำเดี่ยวอีกครั้ง และเปลี่ยนผู้ร่วมรำเป็นลูกสาวคนรอง โดยรำเหมือนคนก่อนต่างกันเพียงแต่ไม่มีการอาบน้ำ และใช้เวลารำไม่นานนัก โดยขณะรำหมอผี จะจับตัวผู้รำโยกไปมา ทั้งนี้เพื่อให้ผีมาเข้าร่างผู้รำ เมื่อรำเสร็จแล้วบรรดาญาติทั้งหลาย จะ ขึ้นไปบนเรือนผีประมาณกลุ่มละ 3 คน แต่งตัวด้วยผ้าใหม่ เข้าไปร่วมพิธีรำ ถ้าผีเข้าร่างคนใด คนนั้นก็จะถือจานอาหารเพื่อหยิบกิน และแจกจ่ายผู้ที่นั่งอยู่บริเวณนั้น และเมื่อใดที่คนรำที่มีผีเข้าร่างอยู่ กระโดดกลับไปที่เรือนผี นอนคว่ำกับพื้นและจับผ้าผี ผีก็จะออกทันที

 

   การ รำเป็นกลุ่มเช่นนี้ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่งโมง ต่อมาเวลาประมาณบ่าย 3 โมง มีพิธีการกินไก่ โดยจัดอาหาร เช่น ข้าวเหนียว, กล้วยน้ำว้า, มะพร้าวอ่อน, เหล้าขาว เป็นต้น วางข้างๆ ฉีกไก่ออกเป็นชิ้นๆ โดยที่คนมีผีอยู่ในร่าง จะกระโดดออกมาพร้อมกับถือกะละมังไก่ เพื่อแจกแก่คนบริเวณนั้น เป็นที่สนุกสนาน ผีที่เข้าร่างผู้รำตอนนี้ไม่เพียงแต่ผีบรรพบุรุษเท่านั้น แต่ยังมีผีจรและผีกระเหรี่ยงอีกด้วย

 

หลังจากนั้น เป็นการรำกลุ่มรอบต้นหว้านอกโรงพิธี มีแต่หญิงรำกระโดดไปมาอย่างสนุกสนาน มีการแบกหาบข้าว กระบอกน้ำ กล้วย มะพร้าวอ่อน ฯลฯ มากินกัน หลังจากนั้นผู้ชายแต่งตัวเป็นช้าง มาให้ผู้หญิงไล่คล้อง เวลาประมาณ 4 โมงเย็น นำ หยวกกล้วยทำเป็นเรือยาวประมาณ 1 ศอก ใส่สายสิญจน์ไว้ในเรือ หมอผีถือมะพร้าวอ่อน 2 ใบ หาบกล้วย 2 หวี เดินปาไปทีละลูกจนหมด นอกโรงพิธีหลังจากนั้น นำเรือมาใส่ของให้เต็ม ยกไปไว้ที่ต้นไม้หน้าโรงพิธี แล้วตัดออกเป็น 2 ท่อน นำ เสื้อกับหมวกที่แขวนอยู่หน้าเรือนผี มาวางบนต้นไม้ เป็นอันเสร็จพิธี























ขอบคุณข้อมูลจาก :  http://www.horamahawej.com/content.php?cate=abnormal&id=16

ภาพจาก : http://www.monstudies.com

#คนเลี้ยงผี
Messenger56
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
15 มิ.ย. 53 เวลา 16:55 10,365 4 68
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...