ไขปริศนา การสร้าง"ปีระมิด"ของชาวอียิปต์โบราณ ที่เชื่อกันว่าเป็นฝีมือของ"มนุษย์ต่างดาว"...

เรียบเรียงโดย Clipmass.com

 

"ปีระมิดคูฟู" หรือที่เรียกกันว่า "ปีระมิดออปส์รูปทรงสามเหลี่ยม" เป็น 1 ใน 7 สิ่งก่อสร้างสุดมหัศจรรย์ในประวัติศาสตร์ของโลกที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่เป็นอย่างมาก โดยเชื่อกันว่าสร้างขึ้นในช่วง 2560 - 2580 ปีก่อนคริสตกาล

และที่น่าแปลกใจคือ "ปีระมิดคูฟูมีความสูงที่ 149.59 เมตร" ซึ่งสร้างความสงสัยให้กับคนรุ่นหลังเป็นอย่างมากว่า คนในสมัยก่อนคริสตกาลใช้เทคนิคอะไรในการก่อสร้าง...? เพราะในสมัยนั้นซึ่งเป็นยุคที่ไม่มีเทคโนโลยีอะไรเลย แต่ทำไมคนในสมัยนั้นกลับสร้างสิ่งก่อสร้างที่มหัศจรรย์และมีประสิทธิภาพอย่างนี้ได้...? หรืออาจเป็นไปได้ไหมว่าจะเป็นฝีมือการก่อสร้างของ"มนุษย์ต่างดาว"

 

โดยผู้เชี่ยวชาญเข้าใจว่า ในการก่อสร้างปีระมิดคูฟูนั้นน่าจะเป็นเพราะ "แรงดันน้ำ" เนื่องจากมีจากการสำรวจพบร่องรอยของท่อน้ำภายในปีระมิด ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าคนในสมัยก่อนตั้งใจสร้างปีระมิดให้อยู่ในระหว่างกลางแม่น้ำ จากนั้นก็สร้างทางส่งน้ำเพื่อใช้แรงดันของน้ำขนส่งหินกว่า 2.3 ล้านก้อนไปใช้ในการก่อสร้างนั่นเอง

 

แต่แท้จริงแล้ว ก้อนหินที่นำมาใช้ในการก่อสร้างนั้นถูกส่งมาจากเหมืองหินที่อยู่ไกลออกไป

 

และวิธีที่ชาวอียิปต์โบราณใช้ในการขนส่งอุปกรณ์ก่อสร้างปีระมิดคือ คนงานจะอัดอากาศเข้าไปในหนังแกะ

 

และใช้เชือกที่ทำมาจากต้นกกริมน้ำผูกเป็นเงื่อนต่อเป็นแพ แล้วนำหินผูกไว้กับแพ จากนั้นก็ปล่อยให้แพลอยเข้าไปภายในปีระมิด

 

โดย "น้ำ" เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะคนงานในเหมืองจะใช้ระดับน้ำเป็นเครื่องมือในการวัดและเปลี่ยนแปลงขนาดของหินให้มีความเท่ากัน

 

หลังจากที่หินมีขนาดเท่ากันแล้ว ก็จะใช้แพหนังแกะขนหินผ่านแม่น้ำ และลำเลียงหินส่งขึ้นไปยังส่วนต่างๆ ของปีระมิด

 

นี่คือความชาญฉลาดของชาวอียิปต์โบราณ ในการคิดค้นวิธีขนส่งก้อนหินโดยใช้ "น้ำ"

 

 

เพียงแค่บรรจุน้ำให้เต็มปริมาณก็ช่วยลดแรงงานไปได้เยอะเลยทีเดียว เพราะน้ำมีแรงดันมากพอที่จะช่วยดันก้อนหินขึ้นไปอัติโนมัติ

 

แต่ต้องหาอุปกรณ์มาช่วยพยุงหิน (ซึ่งเป็นวัตถุที่มีน้ำหนัก) ให้ลอยตัวอยู่บนน้ำได้ 

 

ซึ่งทั้ง 4 ด้านของปีระมิดจะมีท่อน้ำเพื่อใช้ในการขนส่งหินในแต่ละด้าน

 

โดยที่คนงานแทบไม่ต้องออกแรงอะไรเลย เพียงแค่กะตำแหน่งในการก่อสร้างให้เหมาะสม แล้วแกะหินออกจากแพ ก็จะสามารถประหยัดแรงงานและเวลาในการเคลื่อนย้ายได้มากเลยทีเดียว

 

และ "ท่อน้ำ" ก็จะถูกสร้างให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนชั้นของปีระมิด และในแต่ละชั้นจะกำหนดมุมความลาดเอียงไว้อย่างแน่นอนที่ 53 องศา

 

ซึ่งเป็นมุมที่ผ่านการคำนวณมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นมุมลาดเอียงที่เหมาะต่อการลำเลียงหินขึ้นไปแล้ว ดังนั้นปีระมิดทั้ง 4 ด้านจึงมีมุมองศาที่เท่ากัน

 

นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังสันนิษฐานอีกด้วยว่า ชาวอียิปต์โบราณอาจจะใช้วิธีวัดมุม 53 องศามากำหนดขนาดในการสร้างมุมองศาของหินแต่ละก้อนด้วย

 

หลังจากที่สร้างปีระมิดเสร็จหมดแล้ว ก็จะระบายน้ำออกด้วยการเปิดประตูระบายน้ำ เพียงเท่านี้ก็ไม่เหลือน้ำหลงเหลืออยู่ในปีระมิดแล้ว

 

 

และไม่ใช่แค่ปีระมิดเท่านั้นที่ใช้การขนส่งทางน้ำช่วยในการก่อสร้าง แต่สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ทางประวัติศาสตร์อย่างนครวัดก็ใช้วิธีเดียวกัน

 

ซึ่งชาวกรีกในสมัยก่อนเชื่อกันว่า การก่อสร้างปีระมิดต้องใช้แรงงานและทาสเป็นจำนวนมาก แต่แท้จริงแล้วตามหลักฐานอ้างอิงที่ค้นพบในปัจจุบันกลับพบว่า ปีระมิดสร้างจากแรงงานเพียงหมื่นกว่าคน และใช้ทฤษฎีการลอยตัวของวัตถุในการขนส่งทางน้ำนั่นเอง

 

ข้อมูลและภาพประกอบจาก 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...