รวมวงศาคณา ‘เห ี้ย’ ของเมืองไทย

       สัตว์เลื้อยคลานที่ชื่อของมันถูกคนไทยใช้มาเป็นคำด่ายอดนิยมอย่าง “เห ี้ย” (หรือที่แก้เคล็ดเรียกมันว่าตัวเงินตัวทอง และพยายามเรียกให้มันดูสุภาพตามชื่อวิทยาศาสตร์ว่า“วรนุส”-Varanus salvator ) ปัจจุบันถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ขายได้ทั้งหนังทั้งเนื้อ คนที่ชอบกินเนื้อเห ี้ยหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเนื้อเ...้ยตรงส่วนหางที่เรียกว่า “บ้องตัน” นั้นอร่อยนัก

        ขณะที่ในทางระบบนิเวศตามธรรมชาตินั้น เห ี้ย สัตว์ที่คนไทยตั้งแง่รังเกียจ ถือเป็นนักกำจัดซากตัวยง มันช่วยกำจัดสิ่งปฏิกูล กำจัดซากจากสิ่งแวดล้อม แต่เห ี้ยก็มีพฤติกรรมไม่ดีตรงที่มันชอบไปขโมยกินไก่ กินไข่ กินเป็ด ของชาวบ้าน ทำให้คนไทยไม่ชอบมันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังนำพฤติกรรมไม่ดีของมันรวมรูปร่างลักษณะที่ดูไม่เจริญตา (น่าเกลียดในสายตาคนส่วนใหญ่) มาใช้เป็นคำด่าที่นับจากอดีตถึงปัจจุบันยังคงได้รับความนิยมอยู่ไม่สร่างซา

        สำหรับ “เห ี้ย” (อังกฤษ: Water monitor, ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus salvator) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในสกุล Varanus ที่มีความยาวใหญ่เป็นอันดับสองรองจากมังกรโคโมโด (Komodo dragon; Varanus komodoensis) ที่พบบนเกาะโคโมโด ประเทศอินโดนีเซีย

        เห ี้ย มีลักษณะลำตัวเป็นเกล็ดหนังสีดำ มีลายเป็นดอก (วงรี) สีเหลืองพาดขวางทางยาวตาม ลำตัวเป็นช่วงๆ มีลิ้นแยกเป็นสองแฉกคล้ายงู ใช้สำหรับรับกลิ่น พูดถึงเห ี้ยแล้วอาจมีหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเห ี้ยคือตะกวด ซึ่งอันที่จริงสัตว์ตระกูลเห ี้ยที่พบเห็นกันในบ้านเรา มันไม่ใช่เห ี้ยอย่างเดียว แต่มันเป็นสัตว์วงศ์เดียวกัน มีอยู่ทั้งหมด 6 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

 

ตะกวด,แลน

        1.เห ี้ย/เห ี้ยดอก มังกรดอก ตัวเงินตัวทอง (Water Monitor ; Varanus salvator) มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศาคณาเห ี้ยเมืองไทย ตัวมีสีดำ มีลายดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน พาดขวางลำตัว หางมีสีดำหรือลายปล้องดำสลับเหลืองอ่อน บางตัวมีจุดแดงเล็กๆ ที่หาง ชอบอาศัยตามที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำ พบทั่วทุกภาคในเมืองไทย

        2.ตะกวด แลน (Bengal monitor ; Varanus bengalensis) พบทุกภาคทั่วไทย มีสีรวมๆ ทั้งตัวเป็นสีเหลืองอ่อน เหลืองหม่น สีน้ำตาลเป็นจุดเล็กๆ ส่วนหัวมักมีสีอ่อนกว่าตัว มีหางเรียวยาวเป็นพิเศษ ขึ้นต้นไม้เก่ง ชอบอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ

 

เห่าช้าง

        3.เห่าช้าง (Roughneck monitor lizard ; Varanus rudicollis) มีขนาดใหญ่เป็นที่สองรองจากเห ี้ยตัวและหางมีสีดำ มีลานสีจางๆ เป็นปื้น เป็นดอก เป็นปล้อง ตามลำตัว หัวมีสีเทาคล้ำ พบทางภาคใต้และภาคตะวันตก เมื่อจวนตัวจะพองคอขู่ฟ่อๆ จึงถูกเรียกว่า “เห่าช้าง” ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำลายของมันมีพิษ หากถูกกัดจะเป็นอันตรายถึงตายได้ แต่ความจริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด

 

เ...้ยดำ

        4.เห ี้ยดำหรือมังกรดำ (Black water monitor, Black dragon ; Varanus salvator komaini ) มีรูปลักษณะคล้ายเห ี้ย แต่ตัวเล็กกว่า ลำตัวมีสีดำ(ด้าน) ทั้งตัว ท้องมีสีเทาเข้ม ลิ้นสีเทาม่วง พบทางภาคใต้ ชายทะเล และเกาะเล็กๆ

 

แลนดอน

        5.แลนดอน (Yellow monitor ; Varanus flavescens) มีสีคล้ายตะกวด แต่หัวมีสีเหลืองสดหรือสีส้มเรื่อๆ ชอบอยู่บนที่ดอน จึงถูกเรียกว่าแลนดอน พบตามจังหวัดชายแดนที่ติดกับพม่า

 

ตุ๊ดตู่

        6.ตุ๊ดตู่ (Red-headed Monitor(Harlequin Monitor) ; Varanus dumerilii) มีขนาดเล็กที่สุดในวงศาคณาเห ี้ยไทย ลำตัวมีสีน้ำตาลเทา มีลายเป็นปล้องเป็นวงแหวนสีอ่อน หัวมีสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลอ่อน ข้างใต้คอมีสีอ่อนจนเกือบขาว พบอาศัยอยู่ทางภาคใต้เป็นหลัก

        นั่นก็คือเรื่องราวคร่าวๆ ของเห ี้ยกับสัตว์ในตระกูลเ...้ยในเมืองไทย ที่แม้ใครหลายๆ คนจะไม่ชอบมัน แต่มันก็เป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน โดยสามารถพบเห็นเห ี้ยได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำ ห้วยหนองคลองบึง ป่าชายเลน ปากแม่น้ำ รวมถึงที่ลำคลองและท่อระบายน้ำ หรือแม้กระทั่งที่ทำเนียบและรัฐสภาก็มักจะปรากฏข่าวการพบเห็นเห ี้ยเดินเพ่นพ่านแถวๆ นั้นอยู่บ่อยครั้ง

*****************************************

หมายเหตุ : ภาพประกอบจากเว็บไซต์คลังปัญญาไทย(www.panyathai.or.th) ที่มา:https://sites.google.com/site/newrungsira/slak-wi-tamci/wngsakhnaheiywrnuch

 

 

 

 

 

 

 

27 ส.ค. 58 เวลา 17:07 2,188 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...